เปราะหอม (Kaempferia galangal Linn) จัดอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae มีชื่ออื่น ๆ ว่า ว่านหอม ว่านตีนดิน (ภาคเหนือ) ว่านแผ่นดินเย็น (เชียงใหม่) ชู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หอมเปราะ ว่านชะมดเปราะ (ภาคกลาง) เปราะป่า (ภาคใต้) ซึ่งเปราะหอมจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ เปราะหอมขาวและเปราะหอมแดง เปราะทั้ง 2 ชนิดจะแตกต่างกันที่สีของใบและดอกเท่านั้น การนำเปราะไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางอาหารและยา ดังนี้
ประโยชน์ด้านอาหาร
เหง้าเปราะหอมเป็นเครื่องเทศ โดยใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกง เพื่อดับกลิ่นคาวปลา และใช้เป็นส่วนผสมในส่าเหล้า ส่วนใบรับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก
ประโยชน์ด้านยา
- ใบ รสเผ็ดร้อน แก้เกลื้อนช้าง
- ดอก รสหอมร้อน แก้ตาอักเสบ ตาแฉะ
- ต้น รสเผ็ดขม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
- หัว รสเผ็ดขม ขับเลือดและหนองให้ตก แก้ไอ แก้ลมพิษ แก้ผื่นคัน แก้บาดแผล แก้เสมหะ เจริญไฟธาตุ แก้ลงท้อง
- ดอก รสหอมร้อน แก้เด็กนอนสะดุ้ง ร้องไห้ ตาเหลือก ตาช้อนเหลือบดูสูง
- ต้น รสเผ็ดขม ขับเลือดเน่าของสตรี
- หัว รสเผ็ดขม แก้โลหิต ซึ่งเจือด้วยลมพิษ สุมศีรษะเด็กแก้หวัดคัดจมูก รับประทานขับลมในลำไส้ แก้เสมหะ เจริญไฟธาตุ แก้ลงท้อง
ภาพประกอบจาก: www.pixabay.com