Health4senior

กินอาหารก่อนออกกำลังกาย ดีไหม

การกินอาหารก่อนออกกำลังกาย บางคนบอกว่าดี เพราะพลังงานจะยิ่งมากขึ้น ในขณะที่บางคนบอกว่าไม่ดี เพราะอย่างน้อย ๆ คุณจะเคลื่อนไหวช้าลง บทความนี้จะบอกเหตุผลที่สนับสนุนการออกกำลังกายในขณะท้องว่าง หรือ Fasted exercise เป็นแนวทางดี ๆ ให้กับคุณ

มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic exercises) ในขณะท้องว่าง มีการใช้พลังงานจากไขมันมากกว่าการออกกำลังกายในขณะท้องไม่ว่าง ระหว่าง 20 – 30% นั่นหมายถึง การลดลงของการใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต

 

คาร์โบไฮเดรตอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด

การใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลงเป็นสิ่งที่ดี เพราะความรู้สึกหิวจะน้อยลง ร่างกายจะแบ่งเอาไขมันสำรองมาใช้เป็นพลังงาน ในกิจกรรมประจำวัน เช่น การเดิน การวิ่ง และการขี่จักรยานนั้น ไขมันสามารถเป็นแหล่งพลังงานเสริมได้ ทั้งนี้การใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ระยะยาวสามารถนำไปสู่การต้านทานต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงเบาหวานได้

สำหรับขั้นตอนการออกกำลังกายในขณะท้องว่างนั้น แนะนำให้เริ่มด้วยการออกกำลังกายแบบแอโรบิค ที่เบา ๆ ก่อน เช่น การเดิน การวิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน คุณอาจจะรู้สึกว่ามันหนักและยาก เมื่อเทียบกับออกกำลังกายปกติ แต่ในไม่ช้า ร่างกายจะปรับตัวได้ โดยใช้ไกลโคเจน (Glycogen) น้อยลง และใช้ใช้กรดไขมันเป็นพลังงานเพิ่มขึ้น ถึงตอนนั้นคุณสามารถเริ่มต้นการผสมผสานการฝึกขณะท้องว่างอย่างเข้มข้นเป็นประจำทุกวันได้ มีโปรแกรมออกกำลังกายขณะท้องว่าง แบบที่เป็น Intermittent fasting program โดยจะทำให้ร่างกายคุ้นเคยกับการนำไขมันมาใช้เพื่อเป็นพลังงาน

 

ต้องผสมผสานกับการออกกำลังกายปกติให้ลงตัว

แม้ว่าคุณจะรู้ข้อดีของการออกกำลังกายขณะท้องว่างแล้ว อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ คุณจำเป็นต้องผสมผสานการออกกำลังกายปกติกับออกกำลังกายในขณะท้องว่างให้เหมาะสม เช่น ถ้าคุณรู้ว่าต้องออกกำลังกายแบบหนัก คุณควรทานคาร์โบไฮเดรต 2 – 3 ชั่วโมงล่วงหน้า เพื่อป้องกันน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งจะทำให้คุณ มึนงง วิงเวียนศีรษะ กระสับกระส่าย ใจสั่น หัวใจเต้นแรงเร็วได้

นอกจากนี้ ปัญหาในเรื่องของการเผาผลาญ คาร์โบไฮเดรตอาจเกิดขึ้นจากการออกกำลังกายขณะท้องว่างพร้อมกับการกินอาหารแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำ ทั้งนี้ในความเป็นจริงแล้วเป้าหมายควรจะเป็นการเพิ่ม “ความยืดหยุ่นในการเผาผลาญ” คือ ร่างกายสามารถเผาผลาญได้ทั้งคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ดังนั้นควรกินคาร์โบไฮเดรตให้มากขึ้นในวันที่ออกกำลังกายหนัก ๆ เพื่อชดเชยไกลโคเจนซึ่งอาจหมดไปได้

อย่าพยายามทำทุกอย่างพร้อมกันในครั้งเดียว ออกกำลังกายขณะท้องว่างแบบเบาไปหาหนัก ทานคาร์โบไฮเดรตให้มากขึ้นในวันออกกำลังกาย และลดลงในวันอื่น ๆ ออกกำลังกายไม่ใช่ยาวิเศษสำหรับการลดน้ำหนัก แต่อาจเป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมให้ร่างกายนำไขมันมาใช้เป็นพลังงาน ซึ่งในระยะยาวอาจลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วนได้

 

เรียบเรียงโดย กองบรรณาธิการ
แหล่งข้อมูล :  https://www.mindbodygreen.com/
ภาพประกอบ : https://www.freepik.com/

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก