Health4senior

การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง

สิ่งควรรู้การฉีดวัคซีน COVID-19  

การฉีดวัคซีน COVID-19 ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือให้บ่อย รักษาระยะห่าง

วัคซีนโควิด-19 มีหลายบริษัทผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งกลุ่มที่สำคัญ ได้แก่

  • วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม (DNA, mRNA vaccine) สำหรับ mRNA vaccine เป็นการนำสารพันธุกรรม mRNA ของไวรัสโควิด 19 มาหุ้มเพื่อรักษาสภาพ แล้วฉีดเข้าไปในร่างกาย โดย mRNA จะไปสร้างโปรตีนที่สามารถกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันไวรัสโควิด 19 ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น วัคซีนของ Pfizer และวัคซีน Moderna.
    ข้อดี ใช้เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนแบบใหม่ ให้ผลการป้องกันที่ดี ปรับปรุงวัคซีนเพื่อรองรับการกลายพันธุ์ง่าย แต่ต้องคอยเฝ้าดูเรื่องความปลอดภัยในระยะยาว
  • วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral Vector) เป็นการนำสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด 19 ไปติดในไวรัสไม่ก่อโรคตัวที่เป็นพาหะ แล้วนำไปฉีดให้ร่างกายกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัสโควิด 19 ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น วัคซีนของ Astra Zeneca และวัคซีน Sputnik V วัคซีนของ Johnson & Johnson.
    ข้อดี ผลิตไม่ยาก ราคาไม่แพง กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี สร้างภูมิคุ้มกันได้ตั้งแต่โดสแรกและอาจใช้เพียง 1 โดส ข้อจำกัดหรือข้อกังวล ไวรัสที่เป็นพาหะอาจถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกัน หรืออาจก่อโรคในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำได้
  • วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated Virus Vaccine) เป็นการนำเชื้อโควิด 19 มาทำให้ตาย แล้วนำไปฉีดให้ร่างกายกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัสโควิด 19 ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น วัคซีน Sinovac วัคซีน Sinopharm.
    ข้อดี มีความปลอดภัยสูง ใช้กับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ ข้อจำกัด การผลิตมีต้นทุนสูง ต้องมีการเพาะเชื้อ
  • วัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein Subunit Vaccine) เป็นการนำโปรตีนจากเชื้อไวรัสโควิด 19 มาผลิตเป็นวัคซีน แล้วนำไปฉีดให้ร่างกายกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัสโควิด 19 ขึ้นมา.
    ข้อดี ความปลอดภัยสูง ใช้กับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ ข้อจำกัด สร้างภูมิคุ้มกันได้ไม่ดี ต้องใส่สารเสริมฤทธิ์ทำให้เกิดปฏิกิริยาเฉพาะตำแหน่งฉีดได้

จะเห็นได้ว่า วัคซีนทุกตัวมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด รวมถึงผลข้างเคียงที่แตกต่างกันบ้าง แต่มีผลดีสำหรับผู้ที่ได้รับการฉีดมาก ดังนั้นวัคซีนที่ดีที่สุดคือ วัคซีนที่ผู้ที่สมควรฉีดสามารถเข้าถึงได้

  • สำหรับผู้ที่ควรได้รับการฉีด ได้แก่ บุคคลทั่วไป โดยกรมควบคุมโรคได้จัดลำดับการฉีดตามกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่ที่มีการระบาด เช่น บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (ข้อมูล ณ วันที่ 3 มีนาคม 2564 ประชากรกลุ่มนี้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้บางชนิดเท่านั้น) เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 เช่น อสม./อสต. ทหาร ตำรวจ เป็นต้น.
    สามารถจองคิวฉีดวัคซีนได้ทาง “Line OA หมอพร้อม”, รพ.ใกล้บ้านที่มีประวัติการรักษา, อสม.หรือ รพ. สต. ในพื้นที่
  • ผู้ที่รับวัคซีนครบโดสแล้ว ยังมีโอกาสในการติดเชื้ออยู่ ขึ้นกับภูมิคุ้มกันโรคของแต่ละคน และเชื้อโควิด 19 มีหลายสายพันธุ์ แต่การติดเชื้อหลังรับวัคซีน พบว่ามีอาการน้อย โอกาสรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตลดลงอย่างมาก
  • ผู้ที่รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว อาจมีอาการข้างเคียงหรือไม่มีก็ได้
    • สำหรับอาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรง ได้แก่ ปวด บวม แดง ร้อน คัน บริเวณที่ฉีด ปวดศีรษะ ไข้ต่ำ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
    • สำหรับอาการข้างเคียงที่รุนแรง และควรรีบแจ้งแพทย์ทันทีหรือ โทร. 1669 ได้แก่ ไข้สูง ใจสั่น หนาวสั่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ปวดศีรษะรุนแรง หน้าเบี้ยวปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีจุดเลือดออกจำนวนมาก ผื่นขึ้นจำนวนมาก บวมทั่วร่างกาย ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อรุนแรง ท้องเสีย ชัก หมดสติ
  • สิ่งที่ต้องแจ้งแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน ได้แก่ 1) ประวัติการแพ้ยา แพ้วัคซีน สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ 2) มีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียสในวันที่นัดฉีด 3) มีรอยช้ำ จ้ำเลือดหรือเลือดออกผิดปกติ หรือใช้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน และการใช้ยาที่มีผลกดภูมิคุ้มกัน 4) ตั้งครรภ์ หรือมีแผนจะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
  • สิ่งที่ควรปฏิบัติก่อนและหลังการฉีดวัคซีน ได้แก่ 1) สองวันก่อนและหลังฉีด งดออกกำลังกายหนัก 2) วันที่ฉีดกินน้ำเยอะ 500 – 1,000 ซีซี งดชา กาแฟ คาเฟอีนและแอลกอฮอล์ 3) ฉีดแขนข้างที่ไม่ถนัด หลังฉีดอย่าใช้แขนนั้น 4) หลังฉีดรอสังเกตอาการ 30 นาที กรณีที่มีอาการเล็กน้อย เช่น ปวดศีรษะน้อย ๆ มีไข้ต่ำ  รับประทานยาบรรเทาอาการได้ (ห้ามทานยา Brufen Acroxia Celebrex)  หากมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ให้แจ้งแพทย์โดยทันที 5) ฉีดวัคซีนโควิดควรฉีดให้ห่างกว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างน้อย 1 เดือน เป็นต้น
  • ผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการสัมผัสเชื้ออย่างเคร่งครัด ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19  |

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : ผศ. (พิเศษ) พญ. จุรีรัตน์ บวรวัฒนุวงศ์
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก