โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนต้องเตรียมตัวรับมือ
จากสภาพแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งอุณหภูมิ ภูมิอากาศ เทคโนโลยี การเดินทาง พฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ล้วนเป็นปัจจัยให้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เกิดการระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Emerging Infectious Disease) เช่น โรคไข้หวัดนก โรคซาร์ส โรคเมอร์ส โรคไข้สมองอักเสบนิปาห์ โรคอีโบลา เป็นต้น โรคเหล่านี้มีแนวโน้มก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและภาวะเศรษฐกิจรุนแรงมากขึ้น และไม่ง่ายที่จะควบคุม …
สำหรับเชื้อที่สามารถติดต่อและทำให้เกิดโรค ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา โปรโตซัว พยาธิ เป็นต้น
ในจำนวนเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค “ไวรัส” มีลักษณะพิเศษ
ปัจจุบันยังไม่มียากำจัด ต้องอาศัยภูมิต้านทานร่างกายสู้
ไวรัส (Virus) เป็นเชื้อก่อโรคขนาดเล็กมาก มีโครงสร้างหลักเพียงสายพันธุกรรม DNA หรือ RNA หุ้มด้วยโปรตีน โดยไวรัสไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง การมีชีวิตและเพิ่มจำนวนของไวรัส จะเป็นลักษณะของการรุกรานเข้าไปภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น …
เชื้อไวรัสโควิด 19 มีหลายสายพันธ์ุ
แพร่อย่างรวดเร็วผ่านการไอ จาม สัมผัสเชื้อ ทำให้เกิดโรคโควิด 19 โดย 80% มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ส่วนที่เหลืออาการมากต้องเข้าโรงพยาบาล และประมาณ 3% เสียชีวิต
เชื้อไวรัสโควิด 19 ติดต่อในลักษณะละอองฟุ้ง (Aerosol) จากการไอ จามของผู้ป่วยเข้าสู่ร่างกายผู้ใกล้ชิดผ่านทางจมูก ปาก ตา และการสัมผัสสารคัดหลั่งจากละอองฟุ้ง โดยหลังจากเข้าสู่ร่างกาย จะใช้เวลาในการเพิ่มจำนวนหรือที่เรียกว่า ระยะฟักตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 5 วัน ต่อจากนั้น …
โรคโควิด 19 เป็นโรคระบาด
คนติดแล้วต้องแยกไม่ให้ไปติดคนอื่น ส่วนคนที่ยังไม่ติดต้องป้องกันไม่ให้ติด ที่สำคัญต้องฉีดวัคซีนป้องกัน
โรคโควิด19 (COVID-19) เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง แนวทางการจัดการจะคล้ายกับโรคติดต่อโดยทั่วไป โดยเน้น ที่ 1) การป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อเพิ่ม โดยลดการสัมผัสเชื้อและการสัมผัสเชื้อแล้วสามารถต้านทานโรคได้โดยไม่เจ็บป่วย และ 2) การควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัด …
การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ทุกสายพันธุ์
เน้นใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ รักษาระยะห่าง และฉีดวัคซีนป้องกันทันทีที่มีโอกาส
จากการที่เชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่ในละอองฝอย และอยู่ตามพื้นผิววัสดุต่าง จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางจมูก ปาก ตา ซึ่งเป็นช่องทางหลักที่เชื้อเข้าสู่ปอด ทำให้มีวิธีการป้องกันสำหรับทุกคน …
จองคิวฉีดวัคซีนเพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อ
และลดความรุนแรง ลดโอกาสเสียชีวิตหากติดหลังฉีด
การฉีดวัคซีน COVID-19 ได้รับการยืนยันแล้วว่าช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค COVID-19 โดยจะต้องทำควบคู่ไปกับการสวมหน้ากาก ล้างมือให้บ่อย และการเว้นระยะห่าง รักษาระยะห่างโดยก่อนฉีดวัคซีน COVID-19 ควรรู้และเข้าใจข้อมูลให้ถูกต้อง …
การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19 ทุกสายพันธุ์
ใช้การคัดแยกกลุ่มเสี่ยง โดยทำการแยกตัว (Isolation) คนที่ติดเชื้อแล้ว เพื่อรอการรักษา ทำการกักตัว (Quarantine) คนที่มีปัจจัยเสี่ยงติดเชื้อ และสังเกตอาการคนที่มีอาการคล้ายโควิด แต่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง
สำหรับการควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 มีการตรวจหาเชื้อ แยกผู้ติดเชื้อ (Isolation) กักกัน (Quarantine) ผู้เสี่ยงติดเชื้อสูง และสังเกตอาการผู้เสี่ยงติดเชื้อต่ำ และมีมาตรการรองรับแต่ละกลุ่ม โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมที่น่าสนใจ ทั้งนี้ควรอ่านเพื่อให้รู้แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
สำหรับท่านที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับมาตรการป้องกัน มาตรการควบคุม รวมถึงการมาตรการฉีดวัคซีน ทีมงานจะหาคำถามคำตอบใหม่ ๆ มาใส่เพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์ คลิกอ่านได้เลย