หมวดหมู่ : Adv. Slide
หากถามว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตสำหรับทุกคนคืออะไร คำตอบคงแตกต่างกันออกไป แต่เชื่อว่าหนึ่งในนั้นคงมีเรื่องของ “สุขภาพ” เป็นอันดับต้น ๆ...
รับมือ “โอมิครอน” ให้ดีที่สุดอย่างไรดี
สวัสดีปีใหม่ครับ ปีนี้ผมหวังว่า คนไทยจะโชคดีจากการระบาดของเชื้อ “SARS-CoV-2” เมื่อสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) เข้ามาระบาดในเมืองไทย ข้อมูลเบื้องต้นแต่ชัดเจนสำหรับเชื้อตัวนี้คือ แพร่กระจายเก่งกว่าสายพันธุ์เดลต้า 3-5 เท่า ส่วนใหญ่ก่อโรคในทางเดินหายใจส่วนบนและหลอดลม ข้อมูลแรกเริ่มจาก LKS คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮ่องกง (HKUMed) พบว่า หลังปล่อยเชื้อไวรัสลงบนผิวเซลล์ได้ 24 ชั่วโมง สายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มจำนวนในเซลล์หลอดลมเร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้าถึง 70 เท่า แต่เพิ่มจำนวนในเนื้อปอดช้ากว่าสายพันธุ์อู่ฮั่นถึง 10 เท่า นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น เยอรมันและอเมริกาทำการศึกษาในหนูก็พบข้อมูลตรงกันว่า เชื้อโอมิครอนก่อโรคหลัก ๆ ในทางเดินหายใจส่วนบน ทำลายเนื้อปอดน้อยกว่าและทำให้สัตว์ทดลองตายน้อยกว่าด้วย ตอนนี้ในไทย สายพันธุ์โอมิครอนกำลังเบียดแย่งที่สายพันธุ์เดลต้าอยู่ (โอมิครอนพบร้อยละ 20 เดลต้าพบร้อยละ 80) ขอให้สายพันธุ์โอมิครอนเบียดแย่งที่จนกลายเป็นเชื้อเด่นและเบียดเดลต้าให้หมดไปเลย ถึงแม้เชื้อโอมิครอนจะหลบหลีกภูมิคุ้มกัน lgG ที่เกิดจากการติดเชื้อและการฉีดวัคซีนได้บ้าง แต่คนไทยยังมีภูมิคุ้มกันชนิดอื่น ๆ เหลือพอที่จะสู้เชื้อโอมิครอนได้ หากป้องกันตนเองได้ดี คนไทยฉีดวัคซีนไป 105 ล้านโดสแล้ว......
คัมภีร์สู้ “เชื้อโคโรน่าไวรัส 2019” รู้ครบจบที่เดียว
โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนต้องเตรียมตัวรับมือ จากสภาพแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งอุณหภูมิ ภูมิอากาศ เทคโนโลยี การเดินทาง พฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ล้วนเป็นปัจจัยให้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เกิดการระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Emerging Infectious Disease) เช่น โรคไข้หวัดนก โรคซาร์ส โรคเมอร์ส โรคไข้สมองอักเสบนิปาห์ โรคอีโบลา เป็นต้น โรคเหล่านี้มีแนวโน้มก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและภาวะเศรษฐกิจรุนแรงมากขึ้น และไม่ง่ายที่จะควบคุม … สำหรับเชื้อที่สามารถติดต่อและทำให้เกิดโรค ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา โปรโตซัว พยาธิ เป็นต้น คลิก อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม ในจำนวนเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค “ไวรัส” มีลักษณะพิเศษ ปัจจุบันยังไม่มียากำจัด ต้องอาศัยภูมิต้านทานร่างกายสู้ ไวรัส (Virus) เป็นเชื้อก่อโรคขนาดเล็กมาก มีโครงสร้างหลักเพียงสายพันธุกรรม DNA หรือ RNA......
8 โรคเสี่ยง ของนักบริหาร
เมื่อเอ่ยถึงโรคภัยไข้เจ็บ ผู้ใหญ่อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้มากกว่าเด็ก เพราะต้องเผชิญกับปัจจัยแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น อาหาร หรือความเครียดที่ต่อแถวหรือไม่ต่อแถว รอเข้ามาไม่ขาดสาย...
ใครยังไม่ได้ออกกำลังกาย อ่านเรื่องนี้เลย
เมื่อใดก็ตามที่คุณยุ่งกับงานมาก ๆ เหนื่อยจากกิจกรรมต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งรู้สึกลำบากตัวเองเมื่อจะต้องผูกเชือกรองเท้า ให้ลองนึกถึง 15 ข้อดีของการออกกำลังกาย ต่อไปนี้ที่จะช่วยให้สุขภาพร่างกายของคุณสมบูรณ์ขึ้นได้...
ท่าโยคะพื้นฐาน…อายุ 50 ก็ทำได้ ไม่มีใครแก่เกินฝึก
การดูแลตัวเองที่ถูกต้องถือเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่สุดในชีวิต...การออกกำลังกายก็เช่นเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยที่ผู้ใหญ่สู่วัยผู้สูงอายุซึ่งร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมอย่างชัดเจน ปัญหาโรครุมเร้า รวมไปจนถึงจิตใจ การเริ่มต้นดูแลตนเองอย่างจริงจัง...
น้ำสมุนไพรบำรุงธาตุ ทำอย่างไร
การดื่มน้ำสมุนไพร ช่วยปรับความสมดุลของร่างกายได้ทางหนึ่ง ยกตัวอย่างน้ำสมุนไพรตามธาตุดังนี้...
ร้านอาหารไทยชาววัง 5 แห่งที่ต้องลองไปลิ้มลองรสชาติแบบดั้งเดิม
หากพูดถึงความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของชาวไทย...อาหารไทย ก็คงจะเป็นหนึ่งในคำตอบลำดับต้น ๆ ที่เราจะนึกถึง หลากหลายคนเคยลองลิ้มชิมรสชาติของอาหารไทยในภูมิภาคต่าง ๆ กันมาก็มาก ครั้งนี้เราลองมารับประทานอาหารชาววังตำรับโบราณกันบ้าง...
อัลมอนด์ (Almonds) ธัญพืชวิเศษ…เพื่อสุขภาพที่ดี
อัลมอนด์ เป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์กุหลาบ (ROSACEAE) โดยเป็นพืชพื้นเมืองในตะวันออกกลางและเอเชียใต้ ลำต้นสูงประมาณ 4 - 10 เมตร ใบเป็นขอบ...
เที่ยวภูเก็ตสุดฟิน กินลม ชมวิวทะเล ใต้ฟ้าคราม
ภูเก็ต คือจังหวัดที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘ไข่มุกแห่งอันดามัน’ นับเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวอันน่าภาคภูมิใจของชาวไทย ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่นี่...ไม่ได้มีดีเฉพาะท้องทะเลสวยงามเท่านั้น แต่ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอื่น ๆ...