Health4senior

ต้านอัลไซเมอร์ด้วยอาหารเสริม

พวกเราหลายคนกังวลว่าความทรงจำจะถดถอยลงเมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้น การหาทางสร้างเสริมความทรงจำให้ตัวเองไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยอาหารเสริม วิตามิน หรือแม้แต่การเล่นเกมลับสมองประลองเชาวน์ จึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ แต่อาหารเสริมและวิตามินที่กำลังนิยมกันมากในตอนนี้ได้ผลจริงหรือ แล้วควรเลือกอะไร จึงจะมั่นใจว่าใช้ได้ผล

 

1. แปะก๊วย

แปะก๊วยเป็นพืชลำต้นใหญ่ ใบเป็นรูปพัดสีเขียวสวยงาม ในบริเวณใบมีสารที่ออกฤทธิ์เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย อยู่ 2 ชนิด คือ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) และเทอร์พีนอยด์ (Terpenoids) ซึ่งสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ ปัจจุบันนิยมนำเมล็ด ซึ่งเป็นทรงกลมรีเหมือนลูกรักบี้สีเหลืองอ่อน และใบที่เป็นสีเขียวมารับประทาน เพื่อช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตในเส้นเลือดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเส้นเลือดฝอย

ชาวจีนใช้แปะก๊วยเป็นยามานานหลายศตวรรษ โดยเชื่อว่าจะเสริมสร้างการทำงานของสมอง บรรเทาอาการของโรคอัลไซเมอร์ อาการความจำเสื่อม สมาธิสั้นได้ แม้แปะก๊วย ไม่สามารถป้องกันอาการสมองเสื่อมได้ทั้งหมด แต่ช่วยให้คนไข้ที่มีอาการสมองเสื่อมอยู่แล้ว มีอาการดีขึ้นหรือคงที่ได้ แปะก๊วยหาซื้อได้ง่าย มีทั้งเป็นเม็ด แคปซูล และแบบชา

แต่ก็มีข้อควรระวังในการใช้ คือ ไม่ควรใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นที่ทำให้เลือดเจือจางลง และห้ามใช้ก่อนการผ่าตัดหรือถอนฟันด้วย เพราะจะทำให้เลือดหยุดได้ยาก รวมทั้งห้ามรับประทานร่วมกับยาแอสไพริน นอกจากนั้นแปะก๊วย ยังส่งผลต่ออินซูลิน หรือระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวาน ต้องใช้อย่างระมัดระวังภายใต้ความดูแลของแพทย์

 

2. น้ำมันปลา

อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 เป็นกรดไขมันชนิดที่ไม่อิ่มตัว องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) ประกาศให้โอเมก้า-3 จำนวน 2 ชนิด เป็นอาหารเสริมที่มีคุณภาพ คือ Docosahexaneoic acid (DHA) และ  Eicosapentaenoic acid (EPA) โดยการรับประทานเพื่อป้องกันอาการสมองเสื่อมนั้น มีชนิดสำคัญคือ DHA เพราะเป็นสารที่อยู่รอบ ๆ เซลล์สมอง โดยเฉพาะที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่างเซลล์ Synapsy ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการป้องกันอัลไซเมอร์ นอกจากในปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำเย็นแแล้ว กรดไขมันโอเมก้า-3 ยังมีมากในน้ำมันคาโนลา น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ ถั่วแระ วอลนัต ผักโขม และเต้าหู้อีกด้วย

 

3. พืชตระกูลมอสจีน

ฮิวเปอร์ซีน เอ เป็นสารที่สกัดจากพืชตระกูลมอสของจีน ทำหน้าที่คล้ายกับยารักษาอาการสมองเสื่อมและถูกใช้เป็นยาในประเทศจีนมานับร้อยปีแล้ว ในฮิวเปอร์ซีน เอ มีสารชนิดเดียวกับที่มีในยารักษาอัลไซเมอร์ ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐคือ Tacrine และ Coneprzil แต่ให้ผลกระทบข้างเคียงน้อยกว่า

 

4. โสมเกาหลี

มักใช้ร่วมกับแปะก๊วย มีต้นกำเนิดจากจีนและเกาหลี ลักษณะเป็นรากคล้ายรูปคนในโสมมีสารที่ชื่อ จินเซนโนไซต์ (Ginsenosides) ซึ่งเชื่อว่ามีสรรพคุณในการบำรุงสมอง บำรุงร่างกาย รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง อัลไซเมอร์ นอกจากนั้นโสมยังช่วยคลายเครียดได้ แต่การรับประทาน โสมติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ และไม่ควรรับประทานโสมร่วมกับยาเบาหวาน เพราะอาจทำให้น้ำตาลในเลือดลดต่ำเกินไป

 

5. พรมมิ

หรือผักมิ (Bacopa, Indian pennywort) มีการใช้เป็นยาในประเทศอินเดียมานับพันปีแล้ว พรมมิถือเป็นสมุนไพรอายุรเวช มีลำต้นเลื้อยไปตามที่ที่มีน้ำขัง ดอกมีสีม่วงอ่อน เป็นพืชพื้นบ้านของไทยซึ่งปลูกได้ง่าย มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความจำและเพิ่มการไหลเวียนโลหิต บริเวณหลอดเลือดแดงบนเยื่อหุ้มสมอง จึงนิยมใช้เพื่อทดแทนแปะก๊วยและโสม ซึ่งมีราคาแพงกว่า

 

6. ดีเอชอีเอ

หรือ ดีไฮโดรอีพิแอนโดรสเตอโรน เป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่สร้างขึ้นในต่อมหมวกไต เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ฮอร์โมนสำคัญต่าง ๆ ดีเอชอีเอเป็นฮอร์โมนในกลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งมีหน้าที่ช่วยควบคุมสมดุลอารมณ์ ช่วยให้รับมือกับความเครียดได้ดี แต่ดีเอชอีเอจะลดปริมาณลงเรื่อย ๆ เมื่อเราอายุมากขึ้น การรับประทานดีเอชอีเอเสริม จึงอาจช่วยพัฒนาความจำ ชะลอความชรา และป้องกันอาการหลงลืม อัลไซเมอร์ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งยังต้องมีข้อมูลยืนยันเพิ่มเติม แต่ปัจจุบันหาซื้อดีเอชอีเอในรูปแคปซูลได้ทั่วไป

 

นอกจากการใช้อาหารเสริมแล้ว การเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต ก็มีผลต่อการป้องกันอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมเช่นกัน การรับประทานอาหารซึ่งมีประโยชน์ รวมถึงการทำสิ่งท้าทายความจำของตนเองบ่อย ๆ อย่างการเล่นเกมลับสมอง การเล่นดนตรี วาดภาพ เล่นกีฬาเบา ๆ ก็ช่วยป้องกันการสูญเสียความทรงจำได้ดีอีกด้วย

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา : www.webmd.com
ภาพประกอบจาก : www.freepik.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก