Health4senior

วิธีรับมือกับอาการเบื่ออาหารในช่วงวัยทอง

เรื่องกินเป็นเรื่องพื้นฐานซึ่งส่งผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจ แต่สำหรับหลายคน เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทองก็พบว่าความต้องการในเรื่องนี้ลดลงด้วย เบื่ออาหาร กินอะไรก็ไม่อร่อยเหมือนเดิมจนทำให้รู้สึกหดหู่ น้ำหนักตัวลดลง อ่อนแรงในที่สุด อันที่จริงแล้วปัญหานี้มีทางแก้ทั้งในส่วนของการกระตุ้นความอยากอาหารจากภายนอกและการสร้างแรงจูงใจต่อการกินจากภายในร่างกาย

 

1. เพิ่มผักและผลไม้ในมื้ออาหาร

ผักและผลไม้ถือเป็นแหล่งรวมสารอาหารอันมีประโยชน์ต่อร่างกายซึ่งเหมาะกับพวกเราทุกคนอยู่แล้ว สำหรับในช่วงที่เบื่ออาหาร รสชาติหวานอมเปรี้ยวของผลไม้ ความสดกรอบของผัก สามารถกระตุ้นความอยากอาหารได้ นอกจากนั้นผักยังสามารถปรุงเป็นเมนูหลักที่ย่อยง่าย เป็นทั้งแหล่งโปรตีนและไขมันดี ซึ่งง่ายต่อการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย เหมาะกับช่วงวัยที่เริ่มมีภาวะเสื่อมถอยเกิดขึ้นในร่างกายมากที่สุด

 

2. เน้นมื้อเช้าและกลางวัน

สำหรับผู้สูงอายุหลายรายมักพบว่าเบื่ออาหารในช่วงเย็น รู้สึกเหนื่อยจนไม่อยากทำอะไร ทำให้รับประทานได้น้อยลงอีกด้วย ดังนั้นการจัดเมนูอาหารให้ผู้สูงอายุควรเน้นที่มื้อเช้าและเที่ยงให้ครอบคลุมครบถ้วนตามหลักโภชนาการ เมื่อได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอต่อวัน การรับประทานมื้อเย็นได้น้อยลงไปหน่อยก็ถือว่าไม่กระทบมากนัก อีกทั้งการทานมื้อเย็นในปริมาณที่น้อย เน้นอาหารย่อยง่าย ยังช่วยป้องกันปัญหาเรื่องกรดไหลย้อน ความดันและเบาหวานในระยะยาวอีกด้วย

 

3. อาหารเหลวช่วยได้

ถ้าพบว่ามีผู้ใหญ่ในบ้านเบื่ออาหารถึงขีดสุด หรือมีปัญหาเรื่องการบดเคี้ยว ลองปรับเปลี่ยนมาเป็นเมนูอ่อน ๆ ไม่ต้องเคี้ยวหนักอย่างข้าวต้มรวม แกงผักรวม เน้นใส่เครื่องให้ครบทั้งผักและเนื้อสัตว์เบา ๆ อย่างปลา หรือไก่ หรือถ้าพบว่ารับประทานยากจริง ๆ คุณสามารถปรับเป็นเมนูสมูทตี้ก็ได้ อาจจัดแบบโปรแกรมคลีนไปเลย ใส่ทั้งอกไก่ ผัก ธัญพืช ปั่นรวม เพราะการดื่มรวดเดียวจะทำให้เรารู้สึกเหมือนไม่ได้ฝืนกลืนอาหารมากนักนั่นเอง

 

4. บางทีก็ต้องพึ่งอาหารเสริม

วิตามินและอาหารเสริมมีมากมายหลายรูปแบบ ในภาวะคนที่รับประทานอาหารยาก การกินวิตามินแบบเป็นเม็ดอาจไม่ตอบโจทย์เท่าที่ควร ดังนั้นลองหันมาดูพวกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแบบชงดื่มที่นอกจากจะมีสารอาหารที่จำเป็นแล้วยังมักมีส่วนผสมจำพวกโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตเพื่อความอยู่ท้องร่วมด้วย อย่างไรก็ดีผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่สามารถทดแทนมื้ออาหารโดยตรงแบบการทำสมูทตี้ในข้อที่แล้วได้ แต่แนะนำให้ดื่มเสริมมื้อ เช่น หากคุณรับประทานมื้อกลางวันได้น้อย ก็ชงอาหารเสริมแบบนี้ดื่มตามไปอีกซักแก้ว

 

5. เครื่องเทศเพิ่มความซาบซ่า

หลายคนมักเผชิญปัญหาการรับประทานอะไรก็ไม่อร่อยเหมือนเดิม ซึ่งบางทีปัญหาอาจเกิดมาจากประสาทการรับรสที่เริ่มเสื่อมของตัวเราเองก็เป็นได้ ซึ่งการกินอะไรก็ไม่อร่อยนี้อาจนำไปสู่การชอบทานรสหวานจัด เค็มจัด ในผู้สูงอายุ เพราะหากไม่ปรุงรสเข้มจะทำให้ไม่ได้รสจนเกิดเป็นพฤติกรรมก่อโรคไปอีก ดังนั้นในมื้ออาหารลองปรับเปลี่ยนมาปรุงเมนูที่มีเครื่องเทศแทนสารแต่งรสกันดู อย่างต้มยำใส่พริกสด ข่า ตะไคร้ รสชาติเผ็ดร้อนในตัวเองก็เพิ่มความเจริญอาหารได้เช่นกัน

 

6. ออกกำลังกาย

การได้ออกแรงซักหน่อยจะช่วยกระตุ้นระบบการเผาผลาญของร่างกายให้ทำงานอย่างปกติ พอเราเหนื่อย ๆ มา ก็จะรู้สึกหิว ยิ่งถึงเวลาอาหารด้วยแล้วก็จะมีความเจริญอาหารมากขึ้นด้วย ดังนั้นลองเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตัวเอง วิธีที่ง่ายที่สุดคือการเดินและวิ่งอยู่ในละแวกบ้านอย่างน้อยวันละ 20-30 นาที หรือจะเริ่มไปเต้นแอโรบิกตามสวนสาธารณะ ฝึกเล่นโยคะก็ถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เราได้พบเจอเพื่อนใหม่ ๆ อีกด้วย ถือว่าได้ประโยชน์สองต่อเลย

 

7. ดื่มน้ำสม่ำเสมอ

น้ำคือตัวกลางสุดเอนกประสงค์ที่ช่วยทำให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายสามารถดำเนินไปตามกลไกของตัวเองได้อย่างปกติ ดังนั้นไม่ว่าคุณจะรู้สึกกระหายหรือไม่ก็ตามควรตั้งเป้าการดื่มน้ำไว้ที่วันละประมาณ 8-12 แก้ว โดยอาจจะกรอกใส่ขวดแล้วหมั่นยกจิบบ่อย ๆ ตลอดทั้งวัน ก็จะพบว่าสามารถทำได้ง่าย ไม่ฝืน

 

8. ชวนกันทำกับข้าว

การได้ลงมือทำอาหารเองสร้างความสุขทางใจ ยิ่งถ้าได้ชวนคนที่จะร่วมรับประทานในมื้อนั้นมาลงมือร่วมแรงกันทำด้วยแล้วยิ่งก่อเกิดความสุข ความสนุกสนาน หลังจากขั้นตอนการตระเตรียมผ่านไปคุณจะได้พบว่าความสนุกในตอนที่ล้อมวงกิน ลิ้มรสในสิ่งที่ตัวเองทำนั้นก็น่าตื่นเต้นไม่แพ้กัน

 

9. อยู่พร้อมหน้าครอบครัว

บางครั้งการรับประทานอาหารเพียงลำพังก็เป็นสาเหตุของการเบื่ออาหารได้ ดังนั้นการอยู่ร่วมกันพร้อมหน้าพร้อมตาในครอบครัวช่วยให้มื้ออาหารเต็มไปด้วยความทรงจำพิเศษ หากคุณมีญาติผู้ใหญ่ คุณจะพบว่าการได้กินข้าวกับครอบครัวทำให้พวกเขาเจริญอาหารเสียยิ่งกว่าการพาออกไปกินตามภัตตาคารหรูหราเสียอีก สิ่งเหล่านี้คือความสุขทางใจที่หาซื้อไม่ได้ และยังสร้างเสริมสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา : www.sageminder.com, www.eldercarelink.com
ภาพประกอบจาก : www.freepik.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก