Health4senior

ทานอาหารเสริมเยอะไป…ก็ใช่ว่าจะดี

คนรักสุขภาพมักจะหาวิธีที่ดีที่สุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางร่างกายให้กับตนเอง มีอาหารเสริมและวิตามินมากมายซึ่งอาจทำให้คุณประสบปัญหาทานอาหารเสริมเยอะเกินไปได้ ดังนั้นจึงมีสิ่งที่จำเป็นต้องรู้เพื่อการตัดสินใจ แบบไหนที่เรียกว่าพอดีและเหมาะสมต่ความต้องการของร่างกายที่แท้จริง

 

1. รู้จักเป้าหมายของคุณ

ต้องการเพิ่มพลังงานให้มากขึ้น สร้างความสมดุลกับฮอร์โมน เพิ่มคุณค่าทางอาหารหรืออะไรอีกหลายอย่างที่จะเสริมร่างกายของคุณ คำถามแรกที่ควรถามตัวเองว่าอะไรคือสิ่งที่คุณต้องการจากสูตรเสริมของคุณ ด้วยวิธีนี้จะสามารถทำให้วางแผนและมุ่งเน้นตามความตั้งใจได้

 

2. ดูพื้นฐาน

หากคุณต้องการให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่จำเป็น ควรไปหาผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์เพื่ตรวจเช็คสภาพร่างกาย ขอรับการทดสอบสำหรับ วิตามินดี วิตามินบี ธาตุเหล็ก ซีลีเนียมและแมกนีเซียม ซึ่งสามารถทำได้โดยการตรวจเลือดแบบขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ ยังขอรับการทดสอบที่ครอบคลุมมากขึ้นเพื่อทดสอบหาปัจจัยพื้นฐาน เช่น สุขภาพของ Microbiome ความไม่สมดุลของฮอร์โมน หรือ ความเป็นพิษ (Toxicity ความสามารถของสารในการก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต) การตรวจเช็คเหล่านี้ให้ทิศทางแก่คุณได้มาก

 

3. ติดตามปริมาณอาหาร

อย่างน้อยใน 1 สัปดาห์ ลองวางแผนรับประทานอาหารตามปกติของคุณในแอปพลิเคชั่นติดตามอาหาร เช่น MyFitnessPal ในโปรแกรมเหล่านี้ คุณสามารถเห็นสิ่งที่คุณกำลังขาดได้ อาจจะเป็นสารอาหารรอง (Micronutrients) ซึ่งเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานและอาจจะเป็นสารอาหารหลัก (Macronutrients) เป็นสารอาหารในกลุ่มที่ให้พลังงานต่อร่างกาย จากข้อมูลนี้คุณสามารถตัดสินใจได้ว่าคุณต้องการอาหารเสริมหรือไม่ แพทย์เฉพาะทางหลาย ๆ ท่านสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายอย่างซึ่งขึ้นอยู่กับกรณีของคุณว่าขาดอะไร ควรใช้อาหารเป็นยาหลักเพื่อเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งและใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซึ่งขึ้นอยู่กับผลจากการตรวจ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและจัดการให้ถูกวิธี

 

4. อ่านฉลากและมองหาค่ารายวัน (Daily values)

เมื่อคุณรู้ว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดที่เหมาะกับความต้องการเฉพาะของคุณ ขั้นตอนต่อไปคือการเลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีคุณภาพตามปริมาณที่ถูกต้อง อ่านฉลากและดูที่ปริมาณและเปอร์เซ็นต์ของมูลค่ารายวัน (% DV) เราทุกคนมีความต้องการและข้อกำหนดที่แตกต่างกัน ดังนั้น การพูดคุยกับผู้ประกอบวิชาชีพด้านเวชศาสตร์เฉพาะทางช่วยให้คุณได้ดูค่ารายวันของอาหารเสริมได้ถูกต้อง

 

5. รู้ว่ามากเกินไป

ร่างกายของเรามีแนวโน้มที่จะขับวิตามิที่ละลายในน้ำออกมาทางปัสสาวะ เช่น วิตามิน B-complex และ วิตามิน C ดังนั้น ความเป็นพิษจึงไม่น่าห่วง ในทางกลับกันวิตามินที่ละลายในไขมันอย่าง วิตามิน A, D, E และ K2 อาจเป็นพิษหากคุณใช้นานมากเกินกับร่างกายของคุณ รวมไปถึงแร่ธาตุต่าง ๆ อย่าง ซีลีเนียม (Selenium) ถ้าทานมากเกินก็สามารถทำให้เกิดผมร่วง ความเมื่อยล้า และปวดข้อ ถ้าเป็นธาตุเหล็ก (Iron) มากเกิน สามารถออกซิไดซ์ทำให้เกิดการอักเสบได้ ศึกษาให้ดีเรื่องความแตกต่างระหว่างวิตามินที่ละลายในไขมันและวิตามินที่ละลายน้ำ เพราะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพและความปลอดภัยของคุณ

 

6. ทำความคุ้นเคยกับอาหารเสริม

อาหารเสริมที่เลือกอาจเหมาะสำหรับคุณในทางทฤษฎีแต่ไม่เหมาะในทางปฏิบัติ สิ่งนี้น่าจะเกิดจากการมีผลข้างเคียงกับยาที่คุณอาจจะกำลังทานอยู่ ตัวอย่าง เช่น CoQ10 (ซึ่งเป็นสารอาหารที่ดีที่หลาย ๆ คนได้รับประโยชน์) มีปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นมากมายกับยาเฉพาะโรคที่คุณรับมาจากแพทย์ อย่าง ยารักษาเบาหวาน, ยา Beta blockers ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ใช้ในการลดความดันโลหิตและป้องกันภาวะต่าง ๆ, ยาเจือจางเลือด (Blood thinners) และยาลดความดันโลหิต (ACE inhibitors) ยิ่งกว่านั้น อาหารเสริมเมลาโทนินที่ช่วยเรื่องการนอนหลับอย่างเป็นธรรมชาติก็มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับยาสำหรับเบาหวาน ยาเจือจางเลือด และยาคุมกำเกิดด้วย สำหรับยาไทรอยด์แนะนำว่าควรรออย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนที่คุณจะทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (หรืออาหาร) ที่มีแคลเซียมและธาตุเหล็ก ทั้งนี้ แคลเซียมและธาตุเหล็กสามารถแทรกแซงการดูดซึมของยาไทรอยด์ได้

 

7. ปรึกษาแพทย์

หากคุณกำลังใช้ยาต่าง ๆ อยู่ ขอแนะนำให้ปรึกษากับแพทย์ที่สั่งยาก่อนที่คุณจะทานอาหารเสริม อย่างไรก็ตาม ถ้าแพทย์ที่ให้คำแนะนำไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมด้านเวชศาสตร์เฉพาะทางหรืออย่างน้อยทางโภชนาการ แพทย์อาจจะไม่รู้ในรายละเอียดมากพอที่ให้คำแนะนำ จะสื่อสารไปในแง่ของการระวัง สุดท้ายบอกให้คุณเลี่ยงอาหารเสริมได้ ดังนั้นการปรึกษาการแพทย์เฉพาะทางจะช่วยให้คุณสามารถจัดการกับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของคุณให้นำมาใช้ได้อย่างปลอดภัยได้มากกว่า

โปรดจำไว้ว่าการรับประทานอาหารให้ครบตามหลักโภชนาการเป็นพื้นฐานของการทานอาหารเสริมแม้ว่า อาหารเสริมจะที่อุดมด้วยสารอาหารก็ตาม ดังนั้นควร่านฉลากและประเมินความต้องการรวมถึงพฤติกรรมขงตนเองให้เหมาะสม หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ท้องร่วง ท้องอืด หรือปวดท้อง เป็นต้น ขอแนะนำให้ไปตรวจร่างกายทันที

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา : www.mindbodygreen.com
ภาพประกอบจาก : www.freepik.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก