Health4senior

ปลดล็อคกฎหมาย “กัญชา” อีกมิติแห่งศาสตร์การรักษาโรคมะเร็งและอัลไซเมอร์

กฎหมาย กัญชา และยาเสพติด เป็น 3 คำ ที่ทรงพลังและถูกวิพากษ์ร่วมกันอย่างกว้างขวางในทุกวันนี้ ด้วยความที่กัญชาแม้จะบริโภคได้ แต่ก็ไม่ใช่พืชที่สามารถใช้บริโภคได้อย่างธรรมดาเช่นเดียวกับพืชผักทั่วไป และอย่างที่เรารู้กันดีว่า กัญชาได้ถูกจัดให้อยู่ในหมวดของยาเสพติด ดังนั้นเมื่อมีกระแสการปลดล็อดพืชชนิดนี้ ในการนำมาใช้ทางด้านการแพทย์ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่ด้วยการถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ยาเสพติด ทำให้หลาย ๆ คนในสังคม ยังกังวลถึงผลกระทบอีกเช่นกัน

ล่าสุด เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดสัมมนาและระดมสมอง เวที ฬ.จุฬาฯ นิติมิติ ว่าด้วย “กัญชาทางการแพทย์ (Medical cannabis) กับกฏหมาย : จากยาเสพติดสู่ยารักษาโรค” ขึ้น ณ อาคารเทพทวาราวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  โดย นพ.โสภณ เมฆธน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประธานองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ได้กล่าวถึงการร่วมกับ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อเสนอร่าง พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ เพื่อแก้ไขให้กัญชาและพืชกระท่อม สามารถนำไปศึกษาวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และสามารถนำไปใช้ในการรักษาภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์ได้

แต่เดิม กัญชา หรือต่างประเทศเรียกว่า เฮมพ์ (Hemp) ทางการแพทย์เรียกว่า แคนนาบิส (Cannabis) คือพืชตระกูลป่านปอ ที่ถูกจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มีการควบคุมเรื่องการปลูก การครอบครอง การจำหน่ายหรือบริโภค โดยที่สามารถขออนุญาตทำการศึกษาวิจัยและพัฒนกัญชาได้ แต่ยังไม่สามารถเสพได้ ด้วยเหตุนี้ กัญชาจึงยังไม่สามารถทำการทดลองทางคลินิกเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในมนุษย์ได้ เมื่อองค์ความรู้ในด้านนี้ถูกจำกัดไว้ ก็สูญเสียโอกาสที่จะได้ทดลองถึงประสิทธิภาพที่แท้จริงซึ่งอาจมีอีกมากมาย

นพ.โสภณ ได้แจ้งถึงช่วงการนำเสนอร่างกฎหมาย และรับฟังความเห็นทางเว็บไซต์ของ สนช. ทั้งสิ้น 15 วัน ทั้งหมดประมาณ 1 แสนคน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 98.9 เห็นด้วยให้นำสารสกัดทางกันชามาใช้ในการแพทย์ นอกจากนั้นยังมี 5 แนวโน้มซึ่งอาจเป็นไปได้ ในขั้นตอนการปลดล็อคกัญชาเพื่อการแพทย์ ดังนี้
  1. รอตามกระบวนการของประมวลกฎหมาย ว่าด้วยยาเสพติดตามปกติ
  2. กรณีของ สนช. รวมเสนอร่างกฎหมาย และจัดสัมมนาใหญ่ในการรับฟังความคิดเห็น
  3. เสนอให้ใช้มาตรา 44 ปลดล็อคกัญชา เพื่อความรวดเร็ว
  4. คณะกรรมการควบคุมยาเสพติด อาจต้องหารือว่า สามารถใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงนามเปลี่ยนแปลงกัญชา จากสารเสพติดประเภทที่ 5 เป็นประเภท 2 ได้หรือไม่
  5. ออกกฎหมายใหม่เฉพาะขึ้น เพื่อนำสารสกัดจากกัญชามาใช้เพื่อทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องใช้เวลา
หากเรามองย้อนกลับไปในอดีต จะพบว่า กัญชามีสรรพคุณรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง แม้กระทั่งในอังกฤษก็ได้มีการใช้ยาสกัดจากกัญชา รักษาอาการเจ็บป่วย หนึ่งในนั้นคือ พระราชินีวิคทอเรีย และคนในราชวงศ์ โดย นายแพทย์ เจ.รัสเซล เรโนลส์ (John Russell Reynolds) นักประสาทวิทยา ผู้เป็นแพทย์ประจำราชสำนักอังกฤษ ได้บันทึกประสบการณ์การใช้กัญชารักษาโรคของตนในช่วง 30 ปี (เมื่อ 127 ปีมาแล้ว) บรรยายถึงโรคต่าง ๆ ที่สามารถใช้กัญชารักษาแล้วได้ผลดี  ได้แก่
  • ความผิดปกติทางจิตใจ (อาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ภาวะซึมเศร้า โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ)
  • ความเจ็บปวดและชา (อาการปวดทุกชนิด โดยเฉพาะอาการปวดจากระบบประสาท อาการปวดเรื้อรัง ปวดหัวไมเกรน ปวดข้อ อาการชาที่แขนขา ปวดประจำเดือน)
  • โรคกล้ามเนื้อ (กล้ามเนื้อกระตุกเกร็ง อาการชักบางชนิด ชักจากเนื้องอกในสมอง กล้ามเนื้อขาเป็นตะคริวตอนกลางคืน)
  • โรคอื่น ๆ เช่น หอบหืด เป็นต้น

จากการทบทวนตำราแพทย์แผนไทย 2 เล่ม คือ ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ และตำราพระโอสถพระนารายณ์ พบว่าตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์มีตำรับยาไทยที่ใช้กัญชาจำนวน 11 ตำรับ ตำราพระโอสถพระนารายณ์มีตำรับยาไทยที่ใช้กัญชาจำนวน 3 ตำรับ โดยมีข้อบ่งใช้หลักคือ แก้ปวด เจริญอาหาร ช่วยให้นอนหลับ

สำหรับการใช้กัญชาในการแพทย์แผนปัจจุบันนั้น เมื่อพิจารณาจากงานวิจัยที่มีคุณภาพในระดับที่น่าเชื่อถือได้ พบว่ามีการใช้สำหรับอาการปวดเรื้อรังโดยเฉพาะ Neuroleptic pain หรือ Cancer pain และ ภาวะกล้ามเนื้อเกร็งเนื่องจากภาวะปลอกประสาทอักเสบ (Spasticity due to multiple sclerosis) โดยใช้สาร Cannabinoids ได้แก่ Nabiximol, Nabilone, Tetrahydrocannabinol, Cannadidiol, Dronabinol

ดังนั้น…หากมีการนำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์จริงควรทำอย่างไร คงเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจของหลายคนตอนนี้  ซึ่งเราคงต้องอ้างอิงจากประเทศที่ประสบความสำเร็จกับการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ โดยเฉพาะประเทศแคนาดาเป็นต้นแบบแนวทางที่น่าสนใจ ได้มีการออกระเบียบว่าด้วยการเข้าถึงกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ (Access to cannabis for medical purposes regulation) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2559 โดยระบุว่า จะต้องซื้อจากผู้ผลิตที่ได้รับอนุญาต ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 35 รายทั่วประเทศ มีการจำกัดปริมาณการใช้ส่วนตัว หรือจำกัดปริมาณการผลิต โดยที่บุคคลที่ต้องการเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์นี้ จะไม่มีสิทธินุญาตให้ผู้อื่นใช้กัญชาของตน เป็นต้น

สำหรับในประเทศไทย การปลดล็อคครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้เกิดการวิจัยถึงสรรพคุณทางยาของกัญชาได้อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งอาจยังมีอีกมากมายที่เราไม่เคยรู้มาก่อน โรคมะเร็ง, โรคอัลไซเมอร์ และการคลายกล้ามเนื้อผู้ป่วย คือกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์โดยตรง นับเป็นสิ่งที่ท้าทาย แต่อย่างไรก็ตาม การมีกฎหมายที่แข็งแรงคอยรองรับอย่างรัดกุมก็เป็นสิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน  จึงนับได้ว่ากัญชาถือเป็นอีกมิติหนึ่งแห่งการรักษา ซึ่งน่าจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการเข้าถึงการรับการรักษาสุขภาพของประชาชนได้ในอนาคต

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา :
  • วารสารยาวิพากษ์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 36
  • เอกสารประกอบการสัมมนา “กัญชาทางการแพทย์ (Medical cannabis) กับกฏหมาย : จากยาเสพติดสู่ยารักษาโรค”
  • laws-lois.justice.gc.ca
  • ncbi.nlm.nih.gov

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก