Health4senior

ระบบโครงร่าง (Skeleton system)

ระบบโครงร่าง (Skeleton system) เป็นระบบที่เป็นที่ยึดเกาะของระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system) เพื่อช่วยในการค้ำจุนร่างกาย ปกป้องอวัยวะภายใน รักษาร่างกายให้คงตัว ช่วยในการเคลื่อนไหวในทุก ๆ ด้าน อาทิ นั่ง นอน เดิน หยิบจับ ออกกำลัง เป็นต้น เป็นแหล่งสะสมแร่ธาตุ โดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส นอกจากนี้ไขกระดูกซึ่งเป็นเนื้อเยื่อกระดูกชั้นในจะสร้างเม็ดเลือดแดง รวมถึงเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ ในระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย

 

อวัยวะที่เกี่ยวข้อง

  1. กระดูก (Bone) เป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา โดยมีการพัฒนาให้มีรูปแบบของกระดูกที่แตกต่าง และสอดคล้องกันกับการทำงานของร่างกาย เช่น กะโหลกศีรษะ (skull) มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก กระดูกต้นขา มีลักษณะเป็นแกนยาว มีจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้อ เป็นต้น ผู้ใหญ่จะมีกระดูกจำนวน 206 ชิ้น แบ่งออกตามตำแหน่งในร่างกายเป็น 2 ประเภท ดังนี้
    • กระดูกแกนลำตัว (Axial skeleton) มีจำนวน 80 ชิ้น ได้แก่ กระดูกกะโหลกศีรษะจำนวน 29 ชิ้น กระดูกสันหลัง 51 ชิ้น
    • กระดูกสาขาของร่างกาย (Appendicular skeleton) มีจำนวน 126 ชิ้น เป็นกระดูกที่แยกออกมาจากกระดูกแกนลำตัว ประกอบด้วย กระดูกแขน 60 ชิ้น กระดูกขา 60 ชิ้น กระดูกสะบัก 2 ชิ้น เชิงกราน 2 ชิ้น และ ไหปลาร้า 2 ชิ้น
      นอกจากนี้ หากดูตามรูปร่างของกระดูกยังสามารถแบ่งได้เป็น กระดูกแบบยาว เช่น กระดูกแขนขา หน้าแข้งกระดูกแบบสั้น เช่น กระดูกข้อมือ ข้อเท้า กระดูกแบบแบน เช่น กระดูกศีรษะ กระดูกอก กระดูกรูปร่างไม่แน่นอน เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกอุ้งเชิงกราน และกระดูกแบบสั้นฝังตัวอยู่ในเอ็น เช่น กระดูกสะบ้าโครงสร้างภายในของกระดูก โดยเฉพาะกระดูกแบบยาว ด้านนอกจะเป็นเนื้อเยื่อกระดูกในส่วนที่อัดแน่น (Compact bone) ส่วนปลายจะเป็นเนื้อเยื่อกระดูกในส่วนที่โปร่ง (Spongy bone) โดยปลายด้านที่เป็นข้อต่อจะมีกระดูกอ่อน (Articular cartilage) อยู่ที่ผิว ส่วนแกนกลางของกระดูก จะมีโพรงกระดูกที่มีหลอดเลือดและไขกระดูก (Bone marrow) อยู่ โดยไขกระดูกนี้จะทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ให้กับร่างกาย ที่ผิวด้านนอกของกระดูกยกเว้นด้านข้อต่อ จะมีเยื่อหุ้มกระดูก (Periosteum) เป็นช่องทางทางในการนำเลือด สารอาหาร มาเลี้ยงเซลล์กระดูก ตลอดจนเป็นทางผ่านของเส้นประสาทที่มายังกระดูกด้วย
  2. กระดูกอ่อน (Cartilage) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีโปรตีนหลายชนิด เช่น คอลาเจน เป็นสวนประกอบที่มีความอ่อนนุ่มกว่ากระดูก แต่แข็งกว่ากล้ามเนื้อ สามารถเป็นเนื้อเยื่อในระบบโครงร่างได้ พบในบริเวณข้อต่อต่างๆของร่างกาย รวมถึงโครงร่างของ ใบหู จมูก และหลอดลม กระดูกอ่อนไม่มีหลอดเลือดมาเลี้ยง โดยเซลล์ของกระดูกอ่อนจะแลกเปลี่ยนสารอาหารโดยแพร่ผ่านคอลลาเจนสู่เส้นเลือดด้านนอก ทั้งนี้กรณีเซลล์กระดูกอ่อนถูกทำลายจะซ่อมแซมตัวเองได้แต่ช้า เนื่องจากมีเมตาบอลิซึมที่ต่ำ
  3. ข้อต่อและเอ็นเชื่อมกระดูก (Joint & Ligament) ข้อต่อจะเป็นบริเวณที่กระดูก 2 ชิ้นมาต่อกัน โดยมีเอ็นและองค์ประกอบอื่น ๆ รวมถึงกล้ามเนื้อช่วยยึดเสริมความแข็งแรง แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
    • ข้อต่อเส้นใย (Fibrous joints) มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันยึดกระดูกเข้าไว้อย่างแน่นหนา ไม่มีช่องว่างระหว่างข้อต่อ เป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ได้แก่ ข้อต่อกะโหลกศีรษะ
    • ข้อต่อกระดูกอ่อน (Cartilage joints) มีกระดูกอ่อนขั้นระหว่างกระดูกทั้งสองข้างที่มาต่อกัน ไม่มีช่องว่างระหว่างข้อต่อ ข้อต่อประเภทนี้เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย ได้แก่ ข้อต่อกระดูกสันหลัง ข้อต่อกระดูกเชิงกราน
    • ข้อต่อชนิดซิลโนเวียล (Sylnovial joint) เป็นข้อต่อที่มีแคปซูลหุ้มข้อ ภายในแคปซูลจะมีเยื้อหุ้มข้อ ถัดจากเยื่อหุ้มข้อจะเป็นโพรงข้อต่อ ภายในโพรงจะมีน้ำไขข้อ (Sylnovial fluid) ที่สร้างจากเนื้อเยื่อรอบแคปซูลหุ้มข้อ เพื่อช่วยให้ข้อต่อเคลื่อนที่ได้สะดวก นอกจากนี้ ผิวของกระดูกที่มาเชื่อมกันเป็นข้อต่อชนิดนี้ จะมีส่วนที่เรียกว่ากระดูกอ่อนผิวข้อ (Articular cartilage) ร่วมอยู่ด้วย
      เราสามารถแบ่งชนิดของข้อต่อชนิดซิลโนเวียล  (Sylnovial joint) ตามลักษณะการเคลื่อนไหว ได้เป็นข้อต่อแบบวงรี เคลื่อนไหวได้ 2 ทาง เช่น ข้อต่อบริเวณคอ ข้อต่อแบบเดือย เคลื่อนไหวโดยหมุนรอบแกน เช่น ข้อต่อต้นคอกับฐานกะโหลกศีรษะ ข้อต่อแบบลูกกลมในเบ้ากระดูก เช่น ข้อต่อหัวไหล่ ข้อต่อแบบอานม้า ลักษณะโค้งเว้าสอดคล้องกันพอดี เช่น ข้อต่อนิ้วมือกับกระดูกฝ่ามือ ข้อต่อแบนราบ เช่น ข้อต่อที่กระดูกข้อมือ และสุดท้ายข้อต่อแบบบานพับ มีการเคลื่อนไหวคล้ายบานพับประตู เช่น ข้อศอก ข้อเข่า

สำหรับเอ็นกระดูก (Ligament) เป็นกลุ่มหรือมัดของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดเส้นใย (Fibrous tissue) ที่ช่วยยึดกระดูกและกระดูกชิ้นอื่นเข้าไว้ เพื่อประกอบขึ้นเป็นข้อต่อ (Joint) โดยจะมีคุณสมบัติในการยืดหยุ่น ต่างจากเอ็นกล้ามเนื้อ (Tendon) ซึ่งไม่มีความยืดหยุ่น แต่หากเอ็นกระดูกเจอแรงดึงมากเกินไป อาจจะไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ ทั้งนี้ในข้อต่อชนิดซิลโนเวียลจะมีเอ็นแคปซูล (Capsular ligament) เป็นส่วนของแคปซูลข้อต่อ โดยเอ็นนอกแคปซูล (Extra-capsular ligament) ทำหน้าที่เชื่อมกระดูกเข้าด้วยกันและช่วยรักษาเสถียรภาพของข้อต่อ เอ็นในแคปซูล (Intra-capsular ligaments) ทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพของข้อ และทำให้ข้อต่อมีพิสัยการเคลื่อนไหวกว้างขึ้น

 

โรคระบบโครงสร้างที่พบบ่อย

โรคข้อเสื่อม   โรครูมาตอยด์   โรคเกาต์   โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ   โรคกระดูกพรุน   โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
  • โรคข้อเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ พบได้บ่อยที่ข้อเข่า โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมและอาจมีความเสื่อมที่รุนแรงขึ้น
  • โรครูมาตอยด์ เป็นโรคที่มีการอักเสบของส่วนต่าง ๆ ร่างกาย ไม่ใช่เพียงที่ข้อ โดยเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติและไปทำลายอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายตัวเอง  เช่น ผิวหนัง ดวงตา ปอด หัวใจ และหลอดเลือด เป็นต้น
  • โรคเกาต์ เป็นโรคที่มีการอักเสบจากการมีกรดยูริคในเลือดสูง จนเกิดการตกผลึกของกรดยูริคตามข้อต่าง ๆ เป็นเหตุให้ข้อมีการอักเสบ  ปวด ร้อน บวม แดง และเจ็บเมื่อถูกสัมผัส พบบ่อยตามข้อต่อขนาดเล็ก เช่น ข้อกระดูกฝ่าเท้า และข้อกระดูกฝ่ามือ มีปัจจัยเสี่ยงจากหลายสาเหตุ อาทิ กินอาหารมีสารพิวรีนสูงต่อเนื่องเป็นประจำ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  • โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ การติดเชื้ออาจทำให้เกิดการอักเสบที่ข้อต่อ ทั้งแบบข้อเดียวหรือหลายข้อ เฉียบพลันหรือเรื้อรัง มักพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคเบาหวาน โรคตับ โรคมะเร็ง หรือกินยากดภูมิต้านทานกรณีที่รักษาช้า หรือไม่ได้รับยาที่เหมาะสม อาจทำให้เสียชีวิตได้
  • โรคกระดูกพรุน กระดูกเริ่มเสื่อมและบางลงเนื่องจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก โดยจะเกิดความเสี่ยงจากการแตกหรือหักของกระดูก พบได้บ่อยบริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก หรือข้อมือ รวมทั้งยังสามารถเกิดได้กับกระดูกส่วนอื่น ๆ ของร่างกายอีกด้วย
  • รคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากหมอนรองกระดูกที่รองรับแรงกระแทกจากการใช้งานของกระดูกสันหลังเสื่อมลง ทำให้ขาดความยืดหยุ่น พร้อมทั้งไปกดทับเส้นประสาท จนมีอาการปวดตามแนวของเส้นประสาทนั้น พบได้บ่อยตรงข้อต่อด้านล่างของกระดูกเอว และข้อต่อบริเวณคอ

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย: กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา: th.wikipedia.org  www.haamor.com  th.wikipedia.org
ภาพประกอบจาก: www.shutterstock.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก