Health4senior

ดูแลสุขภาพน้องสาว 9 วิธี ที่สาวใหญ่ต้องรู้

ยิ่งเข้าใกล้วัยทองมากเท่าไร ปัญหาสุขภาพในที่ลับซึ่งผู้หญิงเท่านั้นที่จะรู้ได้ ก็มักมีมาบ่อย ๆ ให้ได้กังวลใจทุกที เชื่อหรือไม่ว่าผู้หญิงบางคน อาจดูแลน้องสาวผิดวิธีมาเกือบตลอดทั้งชีวิตก็เป็นได้ ดังนั้นเรื่องสุขอนามัยในพื้นที่ลับไม่ใช่สิ่งน่าอาย แต่ควรทำความเข้าใจ เพื่อที่จะได้ระวัง และดูแลให้ถูกต้อง ไม่ต้องมานั่งเสียใจทีหลัง นั่นเพราะผู้หญิงเราต้องพบกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดกับน้องสาว ทั้งประจำเดือน เพศสัมพันธ์ คลอดลูก…เยอะเลยทีเดียว

 

1. อย่าชะล่าใจเมื่อประจำเดือนมามากหรือผิดปกติ

บางคนเมื่ออายุมากขึ้น จะพบปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งถ้าหากประจำเดือนของคุณมามากขึ้น มาบ่อยครั้งใน 1 เดือน หรือมีเลือดออกหลังเพศสัมพันธ์ ทั้งที่ไม่ใช่สาวบริสุทธิ์แล้ว นี่ถือเป็นสัญญาณเตือนภัยที่ไม่ควรชะล่าใจ  รีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะมีความเสี่ยงในเรื่องของเนื้องอกในมดลูก, โลหิตจาง หรือ ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน ก็เป็นได้

 

2. อย่าด่วนซื้อยามาใช้ในพื้นที่ลับเอง

ผู้หญิงหลายคนเคยมีอาการคัน ตกขาว ระคายเคือง พอเป็นแบบนี้ก็อายที่จะไปพบแพทย์ เลยตัดสินใจซื้อยาทาแก้คันมาใช้เอง อันที่จริงยังมีสิ่งสำคัญที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ว่ายาทาแก้คันในช่องคลอดนั้น จะแบ่งแยกตามประเภทเชื้อต่าง ๆ ด้วย ซึ่งถ้าไม่ไปตรวจคุณก็จะไม่มีทางรู้เลยว่าช่องคลอดของตนเองคันมาจากยีสต์ แบคทีเรีย หรืออื่น ๆ ซึ่งหากคุณซื้อยาใช้เองตามร้านขายยา ก็จะได้ชนิดที่คนส่วนมากป็นเท่านั้น ซึ่งอาจฟลุ๊คตรงกับคุณพอดี หรือถ้าไม่ ก็ทาแล้วไม่หาย แถมมีสิทธิที่อาการจะลุกลามเป็นมากไปอีก

 

3. หลีกเลี่ยงการใช้แป้งฝุ่นกับบริเวณช่องคลอด

แป้งมีส่วนประกอบของแร่ธาตูทัลล์ โดยสถาบันมะเร็งของสหรัฐอเมริกา รายงานว่า เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งรังไข่ประมาณ 30% และหากต้องการใช้แป้งฝุ่น เพื่อให้น้องสาวของคุณแห้งสบาย ลองหาวิธีอื่นแทนดีกว่า เช่น ใส่กางเกงในที่เป็นผ้าฝ้าย, เลี่ยงการใส่กางเกงในรัดเกินไป และไม่ควรใส่กางเกงในนอน ให้น้องสาวได้ระบายอากาศบ้าง เป็นต้น

 

4. แผ่นอนามัยอาจก่อให้เกิดผื่นคัน

การใส่แผ่นอนามัยเป็นประจำทุกวัน นอกเหนือไปจากการใส่ผ้าอนามัยตามปกติเมื่อมีประจำเดือนนั้น นอกจากจะสร้างความฟุ่มเฟือยเกินจำเป็นแล้ว คุณอาจกำลังทำให้น้องสาวอ่อนแอ นั่นเพราะแผ่นพลาสติกส่วนที่เป็นกาวจะป้องกันการถ่ายเทของอากาศ ดังนั้นการใส่ตลอดทุกวัน ทั้งวัน อาจจะทำช่องคลอดอับ ติดเชื้อแบคทีเรีย, ยีสต์ หรือระคายเคืองได้

 

5. กระชับช่องคลอดป้องกันอาการปัสสาวะเล็ด

การกระชับช่องคลอดด้วยการออกกำลังกาย  สามารถช่วยทำให้กลับมาฟิตเฟิร์มได้จริง แม้จะผ่านการคลอดลูกมาแล้ว แถมยังป้องกันอาการปัสสาวะเล็ดได้อีกด้วย ซึ่งอาการนี้มักพบกว่า 40% ของผู้หญิงที่อายุ 40 ปี และ 50% ของผู้หญิงที่อายุ 50 ปีขึ้นไป การเสื่อมสมรรถภาพของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานไม่ใช่เรื่องน่าอาย ควรหาทางแก้ไขอย่างถูกต้อง แค่คุณขมิบช่องคลอดประมาณ 12-15 ครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำซักรอบของวันก็ใช้ได้

 

6. ป้องกันเพื่อเลี่ยงการตั้งครรภ์

ถ้าเป็นภาษาพูด เราก็จะเรียกสาวใหญ่ที่มีลูกในวัยหลัง 35-40  ปีว่ามี ‘ลูกหลง’ เนื่องจากการที่คุณอยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือน จนกระทั่งเดือนหนึ่งไม่มาจริง ๆ ก็อาจไม่ได้หมายความว่าจะหมดประจำเดือนเสมอไป คุณอาจตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะชะล่าใจจนไม่ได้ป้องกัน ดังนั้นแม้จะอายุมากควรป้องกันตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อประจำเดือนหมด ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจร่างกายอย่างรอบคอบว่าคุณเข้าสู่วัยทองแล้วจริง ๆ

 

7. อย่าอายที่จะใช้ตัวช่วยในการถึงจุดสุดยอด

ตอนอายุยังไม่มาก คุณสามารถเต็มอิ่มกับเพศสัมพันธ์ได้ทุกรูปแบบ แม้ว่าจะไม่มีตัวช่วยอะไรเลย เมื่ออายุมากขึ้น ผ่านประสบการณ์ชีวิตรักมาระดับหนึ่ง การถึงจุดสุดยอดของคุณอาจไม่สามารถทำได้ด้วยท่าทางมาตรฐาน หรือพึ่งพาเพียงภาพยนตร์อีโรติก อย่าอายที่จะสำรวจร่างกายของตนเองอย่างถูกต้อง คุณควรรู้ว่าจุดคริสตอริสของตนเองอยู่ตรงไหน, จี-สปอต คืออะไร หรือแม้แต่การเลือกซื้อเจลหล่อลื่น ซึ่งสามารถช่วยลดอาการฝืดที่มักเป็นในวัยทองได้อย่างดี นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์เซ็กส์ทอยต่าง ๆ ซึ่งคุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนก็ได้ว่าที่จริงแล้วตัวเองชอบแบบไหนก็ได้

 

8. เพศสัมพันธ์ช่วยให้มีสุขภาพดี

ผู้หญิงสูงวัยอายุ 40-50 ปี ส่วนใหญ่มักคิดว่าอารมณ์ทางเพศเหือดหาย ช่องคลอดก็แห้ง เลยไม่อยากมีเพศสัมพันธ์ แต่ในความจริงแล้วเรื่องนี้แก้ไม่ยาก แค่ใช้เจลหล่อลื่น และทำตามคำแนะนำข้อที่แล้ว การมีเพศสัมพันธ์กับคู่รักอย่างสม่ำเสมอ ไม่เพียงเสริมความสัมพันธ์อันดีต่อกันเท่านั้น ยังดีต่อสุขภาพน้องสาว สารเอนโดรฟินหลั่ง ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นปกติ ร่างกายแข็งแรงไปอีก

 

9. พบแพทย์ทุกปีห้ามขาด

ผู้หญิงที่ 30 ปีขึ้นไป ควรเริ่มไปพบแพทย์เพื่อทดสอบ Pap test กันได้แล้ว หากคุณมีผลตรวจเป็นลบ ซึ่งแสดงว่าคุณไม่มีเชื้อที่ก่อให้เกิดมะเร็ง และก็ยังควรมาพบแพทย์ทุก ๆ ปี เพื่อตรวจหาความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นแก่ร่างกาย เช่น ตรวจเต้านม, ตรวจมะเร็งและซีสต์ เป็นต้น

 

เรียงเรียงโดย:  กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา: www.everydayhealth.com
ภาพประกอบจาก: www.freepik.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก