Health4senior

ทำความเข้าใจ…ผู้ใหญ่ คิดอะไรบ้างที่ไม่เหมือนเด็ก

ผู้ใหญ่แตกต่างจากเด็ก เพราะผู้ใหญ่ใช้ชีวิตอ้างอิงประสบการณ์ และความทรงจำจากสิ่งต่าง ๆ จนกลายเป็นสัญชาตญาณ เเต่เด็กต่างออกไป ทุกอย่างสำหรับเด็กจะใหม่และตื่นเต้น เพราะไม่ได้มีประสบการณ์มากมายที่เอามาใช้ตัดสิน เลยอาจมีหลายอย่างที่ทำให้ผู้ใหญ่กับเด็กคิดไม่เหมือนกัน จึงเกิดช่องว่างและความไม่เข้าใจอย่างไม่ต้องสงสัย

 

1. เวลา …แยกแยะความสำคัญ

ถ้าหากแบ่งช่วงชีวิตคนออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ เด็ก ผู้ใหญ่ และวัยชรา ตอนเด็กเราคงคิดว่าชีวิตในวัยผู้ใหญ่นี่แหละ ที่น่าโปรดปรานและน่าดื่มด่ำที่สุด หากเปรียบเหมือนต้นไม้ ก็คงเป็นช่วงที่เจริญเติบโตเต็มที่ พร้อมผลิดอกออกผล มันดูเป็นช่วงชีวิตที่ไม่มีขอบเขต และยังมีพลังเหลือเฟือ แต่สุดท้ายพอได้มาเป็นผู้ใหญ่จริง  ๆ เราถึงรู้ว่าเราคิดผิด  เมื่อก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาของการเป็นเด็กและย่างเท้าเข้ามาในอาณาเขตของการเป็นผู้ใหญ่ ทำให้รู้ว่าช่วงชีวิตนี้มันไม่ได้สุดโต่งอย่างที่ใครหลายคนวาดฝันเอาไว้ แน่นอนว่าความเป็นผู้ใหญ่ มาพร้อมกับความรับผิดชอบที่มากขึ้น ต้องแลกกลับการที่ไม่มีเวลา ไม่สามารถออกไปท่องโลก หรือทำอะไรได้อย่างที่ใจต้องการ มีอะไรมากกว่าการเขียนการบ้านไปส่งคุณครูที่โรงเรียนในตอนเช้า และก็มากกว่าการทำเวรที่โรงเรียนหลายเท่า ซึ่งเหตุผลที่แทบจะเป็นปัจจัยหลักของการไม่มีเวลา ก็คือ เงิน แต่กลับกันในโลกของเด็กมีแค่ช่วงปัจจุบันเท่านั้น ไม่ต้องคำนึงถึงอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร จะมีเงินพอใช้ไหม เสมือนเป็นโลกไร้กาลเวลา

 

2. เป้าหมายของสิ่งต่าง ๆ ในชีวิต

การเติบโตกับหน้าที่ความรับผิดชอบนั้น เป็นเส้นคู่ขนานที่มาด้วยกันเสมอ เมื่อเราตกลงรับผิดชอบอะไรสักอย่างในชีวิต จะไม่ใช่แค่การทำอะไรส่ง ๆ เพื่อให้เสร็จไปเพียงเท่านั้น แต่ต้องใส่ใจและความรู้สึกลงไปด้วย ยิ่งเป็นความรับผิดชอบที่มีต่อครอบครัว หน้าที่การหาเงินให้ครอบครัวก็ถือเป็นปัจจัยที่ห้าที่ขาดไม่ได้ และด้วยเด็กสมัยนี้เติบโตขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่รองรับการทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน ทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ที่ทำให้สามารถทำงานที่ไหนเมื่อไรก็ได้ ผู้ใหญ่เลยมองว่าเด็กไม่โฟกัสอะไรสักอย่าง ในขณะที่ผู้ใหญ่จะทำงานให้เสร็จไปทีละอย่างด้วยความตั้งใจ ยิ่งโตก็ต้องยิ่งรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเองมากขึ้นกว่าเดิม ต้องมีวุฒิภาวะพอที่จะรับผิดชอบความผิดพลาดและความสำเร็จของตัวเอง และเมื่อพูดถึงการทำแบบผู้ใหญ่ การทำแบบผู้ใหญ่ คือ การคิดวางแผน โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน จากนั้นใช้ความมุ่งมั่น ลงมือทำให้สำเร็จดังที่ตั้งใจ และพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งเลยทำให้ผู้ใหญ่อาจจะมองว่าเด็กยังไม่เข้าใจเรื่องเหตุที่ก่อให้เกิดผล เเละยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง

 

3. ความฉลาดทางอารมณ์

ผู้ใหญ่ชอบมองว่าเด็กสมัยนี้ไม่ค่อยเห็นหัว ไม่ค่อยมีมารยาท และไม่ค่อยให้เกียรติคนที่โตกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว สัมมาคารวะและมารยาทเป็นเรื่องสองทาง ทั้งสองฝ่ายควรให้เกียรติกัน ไม่ใช่ให้เด็กแสดงต่อผู้ใหญ่เท่านั้น สังคมไทยจะสั่งสอนกันมาว่าผู้น้อยต้องเคารพผู้ใหญ่ แล้วผู้ใหญ่ก็จะเอ็นดูผู้น้อย แต่ความจริง เมื่อใดที่ต่างฝ่ายต่างล้ำเส้นกัน ไม่ว่าจะเด็กเริ่มเล่นหัวผู้ใหญ่โดยไม่แคร์ความอาวุโส หรือผู้ใหญ่ดูถูกเด็กเพราะถือว่าอายุน้อยกว่า ก็เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทั้งคู่ สัมมาคารวะถือเป็นสามัญสำนึกขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง เป็นความเท่าเทียม แต่ด้วยวุฒิภาวะอาจเห็นว่าผู้ใหญ่มองความสำคัญของส่วนรวม และสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี ถือว่ามีความฉลาดทางอารมณ์มากกว่า

 

4. อิสรภาพแบบมีขอบเขต

คำว่าผู้ใหญ่มีความหมายกว้างไปกว่าคนที่มีอายุมาก เพราะมีสิทธิเลือกทางเดินให้กับตัวเอง มีสิทธิในการตัดสินใจที่จะลงมือทำอะไรสักอย่าง โดยที่ไม่ต้องขออนุญาตผู้ปกครองก่อน มีสิทธิที่จะโลดแล่น และสนุกสนานกับโลกอันกว้างขวางอย่างเต็มที่ เรียกได้ว่ามีสิทธิเด็ดขาดที่จะเลือกสิ่งต่าง ๆ ให้กับชีวิต  เด็กอาจจะคิดว่าอิสรภาพนี่ช่างหอมหวานเสียจริง จนบางครั้งมันทำให้ลืมนึกไปว่า รสชาติจริงของชีวิตผู้ใหญ่ ขมขื่นกว่าภาพที่เห็นนัก เพราะไม่ใช่แค่อายุเพิ่มขึ้นเท่านั้น หากแต่วุฒิภาวะและภาระก็มากขึ้นตามมาด้วย และผู้ใหญ่คิดว่าเด็กยังมีอายุน้อย ต้องคอยเชื่อฟังคนที่โตกว่า จึงทำให้ขอบเขตของการแสดงความคิดเห็นของเด็กมีขีดจำกัด เพราะอำนาจในการตัดสินใจต้องได้รับการรับรองจากบุคคลที่โตกว่าอีกที ดังนั้น จึงเป็นการจำกัดเสรีภาพทางความคิดของเด็ก และมองว่าเด็กนั้นดื้อรั้น ด้วยคำที่ว่าผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อนต้องเชื่อฟัง ในขณะที่เด็กนั้นค่อนข้างที่จะกระตือรือร้นที่จะทดสอบความสามารถของตัวเอง เพราะการทำเเบบนี้จะทำให้เด็กรู้สึกว่าเขาสามารถพึ่งพาตัวเองได้

 

หวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์ต่อใครหลายคนที่ได้อ่าน และหวังว่ามุมมองที่แตกต่างกันไปตามช่วงอายุของผู้อ่านแต่ละคน คงทำให้เข้าใจมุมมองระหว่างเด็กและผู้ใหญ่มากขึ้น ไม่ทำให้เกิดความแตกแยก หากใครที่เผชิญกับปัญหาความไม่เข้าใจ ก็ลองเปิดใจมองในแง่มุมของอีกฝ่ายดู จะช่วยให้เล็งเห็นแนวทางการแก้ปัญหาได้ชัดเจนขึ้น

 

เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ
ภาพประกอบจาก: www.freepik.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก