- เหงือกปลาหมอดอกขาว (Acanthus ebracteatus Vahl)
- เหงือกปลาหมอดอกม่วง (Acanthus ilicifolius L.)
- เหงือกปลาหมอเครือ (Acanthus volubilis Vahl)
ตามตำราแพทย์แผนโบราณแล้วมักนิยมใช้เหงือกปลาหมอดอกขาว (Acanthus ebracteatus Vahl)
- ลูกและเมล็ด รสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณ ขับโลหิตระดู และขับโลหิต แก้ฝี ขับพยาธิ
- ทั้งต้น รสเค็มกร่อย มีสรรพคุณ แก้พิษฝีดาษ ฝีภายใน แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ต้มอาบแก้พิษไข้หัว แก้ผื่นคัน ตำพอกปิดหัวฝี แผลเรื้อรัง เป็นยาอายุวัฒนะ
- ใบ รสเค็ม แก้โรคผิวหนังผื่นคัน แก้ประดง แก้ฝีภายในและภายนอก
- ทั้ง 5 ส่วน เป็นยาแก้ไข้หัว พิษฝี พิษกาฬ
ในอินเดีย
ใช้ยอดและใบอ่อนผสมน้ำเล็กน้อย ปิดแผลที่ถูกงูกัด ทั้งต้นใช้แก้โรคเกี่ยวกับหลอดลมและแก้ไอ นำมาต้มใช้เป็นยารักษาโรคธาตุพิการ
ในสิงคโปร์
ใช้เมล็ดเป็นยาแก้ไอ โดยต้มกับดอกมะเฟือง หรือดอกตะลิงปลิง เติมเปลือกอบเชย และน้ำตาลกรวด จิบแก้ไอ เมล็ดบดเป็นผงใช้พอกแก้ฝี หรือนำไปคั่วแล้วบนละลายน้ำกินแก้ฝี ฝักต้มรับประทาน เป็นยาขับโลหิต และแก้ฝี รากต้มเป็นยาดื่มแก้โรคงูสวัด
ภาพประกอบจาก: www.medthai.com