Health4senior

สับปะรด ใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง

สับปะรด (Pineapple) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ananas comosus (Linn.) Merr. จัดอยู่ในวงศ์ Bromeliaceae สับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย และจัดเป็นผลไม้ที่คนไทยนิยมรับประทาน เนื่องจากมีกากใยสูง และมีเอนไซม์บรอมีเลน (bromelain) ซึ่งมีคุณสมบัติย่อยโปรตีนได้ดี

 

ในส่วนของแพทย์แผนโบราณนั้น สับปะรดสามารถนำมาทำเป็นยาได้ทุกส่วน และมีสรรพคุณแตกต่างกัน ดังนี้

  1. เหง้าและตะเกียง รสหวานเย็น มีสรรพคุณ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้มุตกิด ระดูขาว แก้หนองใน
  2. เนื้อผล รสเปรี้ยวหวาน มีสรรพคุณ ขับเสมหะ แก้อักเสบ แก้บวม แก้ลักปิดลักเปิด ช่วยย่อยอาหาร ทำให้เนื้อนุ่ม
  3. เปลือกผล รสเฝื่อนเปรี้ยว มีสรรพคุณ บำรุงไต แก้กระษัย ขับปัสสาวะ
  4. ใบ รสเฝื่อน มีสรรพคุณ ขับพยาธิ
.

ตำรับยาพื้นบ้านที่ใช้สับปะรดเป็นส่วนผสม เช่น

  1. แก้ขัดเบา ใช้เหง้า หรือตะเกียงสับปะรด ต้มกับน้ำดื่ม
  2. แก้ท้องผูก น้ำสับปะรดสด 1 ถ้วย ใส่เกลือพอควรรับประทานตอนเช้าช่วงท้องว่าง
  3. แก้มุตกิด ใช้เหง้าสับปะรด ต้นบานไม่รู้โรย โคกกระสุน หน้าวัว รากลำเจียก รากหญ้าคา หัวหญ้าชันกาด หนักสิ่งละ 2 บาท ข้าวเย็นเหนือ-ใต้ สิ่งละ 5 บาท สารส้มหนัก 2 สลึง ต้มกินแก้มุตกิด ระดูขาว มุตฆาต เน่าร้ายภายใน ขับหนองใน

นอกจากนี้ หลายประเทศมีการสกัดเอนไซม์บรอมีเลน (bromelain) จากสับปะรด เพื่อช่วยในการให้แผลผ่าตัดหายเร็วขึ้นรวมทั้งลดอาการอักเสบ แผลบวม หรืออาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา รวมทั้งมีการทดลองใช้บรรเทาอาการอักเสบจากริดสีดวงทวาร อาการเกี่ยวกับเส้นเลือดดำ โรคกระดูก และข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เกาต์ และอาการปวดประจำเดือน นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่พบว่าฤทธิ์ย่อยโปรตีนอย่างเป็นธรรมชาติของบรอมีเลน อาจช่วยลดการเกาะกันเป็นลิ่มเลือดของเกล็ดเลือดในหลอดเลือดแดง ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้อีกหลายชนิด

นอกจากมีเอนไซม์บรอมีเลน ยังสามารถช่วยย่อยอาหารได้ทั้งในสภาวะเป็นกรดและด่าง จึงเหมาะมากที่จะไปช่วยย่อยในกระเพาะซึ่งเป็นกรด ก่อนจะตามไปย่อยต่อในลำไส้เล็กซึ่งเป็นด่าง และถ้าจะให้ดีก็เอาสับปะรดสุกปั่นกับมะละกอสุก ๆ ชิ้นประมาณเท่าฝ่ามือ ก็จะทำให้ได้เครื่องดื่มที่มีสรรพคุณช่วยย่อยที่ดีมาก เพราะในมะละกอมีน้ำย่อยธรรมชาติอีกตัว ชื่อปาเปน จะช่วยให้การย่อยมีพลังมากยิ่งขึ้น สามารถดื่มหลังอาหารมื้อที่หนักไปทางเนื้อสัตว์ ลดอาการแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย

 

ภาพประกอบจาก: www.pixabay.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก