โรคหอบหืด (Asthma) เป็นโรคระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการที่หลอดลมมีความไวต่อการตอบสนองของสารภูมิแพ้ สิ่งระคายเคืองอื่น ๆ ทำให้หลอดลมตีบตัวลง หรือการบวมอักเสบของเยื่อบุภายในหลอดลม จึงแสดงอาการหายใจลำบาก แน่นหน้าอก ไอ หายใจมีเสียงดัง หรือทราบได้จากการตรวจการทำงานของปอด อาการหอบหืดที่เกิดขึ้นนี้ อาจจะเกิดอย่างฉับพลันทันที หรือค่อย ๆ เกิดขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในตอนกลางคืน หรือช่วงเช้ามืด หรืออาจจะทั้งวัน แล้วแต่อาการเป็นมากหรือน้อย
ปัจจัยที่มีต่อการเกิดโรค คือ
- พันธุกรรม จากการศึกษาในครอบครัวผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคหอบหืด มากกว่าผู้ป่วยที่มีผู้ใกล้ชิดเป็นคนปกติ
- สารก่อภูมิแพ้ในภาวะแวดล้อม
- สัตว์เลี้ยงที่มีขน
- ที่นอน หมอน ผ้าห่มที่ทำจากขนสัตว์ จะมีตัวไรฝุ่นอาศัยอยู่
- การปูพรมในห้องนอน
- การดูแลทำความสะอาดที่อยู่อาศัย ควรทำความสะอาดเป็นประจำ
- เครื่องปรับอากาศ หมั่นทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ
- เกสรดอกไม้ ดอกหญ้า ดอกวัชพืช สปอร์จากเชื้อรา
- สิ่งกระตุ้นให้โรคกำเริบ ได้แก่ ควันบุหรี่ มลพิษในอากาศ เขม่าควันจากท่อไอเสีย ไอระเหยจากสารเคมี
- ใช้ใบสดขนาดเล็ก 10 – 15 ใบ ต้มกับน้ำ 1 แก้ว เคี่ยวให้เหลือครึ่งถ้วยแก้ว รับประทาน 2 ครั้ง เช้า – เย็น เป็นเวลา 49 วัน หรือใช้ใบสดตำเติมน้ำแล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่มเช้า – เย็น
ข้อควรระวัง
ภาพประกอบจาก: www.lovepik.com