ขิง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zingiber officinale Rsc. จัดอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae ตามสรรพคุณยาไทย สามารถใช้รักษาโรคท้องอืดได้ เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหยที่ประกอบด้วย สารเคมีต่าง ๆ คือ Citral, methol, bomeol, zingiberine, fenchone, 6-shogoal และ 6-gingerol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน แก้ลมจุกเสียด นอกจากนี้ สารที่มีรสเผ็ด ได้แก่ 6-shogoal และ 6-gingerol ทำให้ลำไส้เพิ่มการเคลื่อนไหวจึงบรรเทาอาการปวดท้องเกร็ง
วิธีการใช้
- ระบบการย่อยอาหารทำงานไม่ปกติ อาหารจึงไม่ย่อย หรือรับประทานอาหารมากเกินความต้องการ เคี้ยวไม่ละเอียด มีปัญหาในช่องปาก อาหารย่อยยาก ทำให้เกิดลมในท้องมาก
- ท้องผูก เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง เนื่องจากการที่มีก้อนอุจจาระแข็งอุดตันอยู่ในลำไส้ใหญ่
- แบคทีเรียในลำไส้มีมากเกินไป ปกติลำไส้จะมีแบคทีเรียทั้งดีและไม่ดีอาศัยอยู่ แต่ถ้าแบคทีเรียไม่ดีอาศัยอยู่มาก เช่น อีโคไล หรือคลอสตริเดียมมีมากเกินไป จะทำให้การสร้างแก๊ส ทำให้ท้องอืด มักพบในผู้ที่นิยมบริโภค เนื้อ นม ไข่ มากเกินไป
- ความเครียด เมื่อเกิดอาการเครียดระบบการทำงานของซิมปาเทติก และพาราซิมปาเทติก จะไม่มีความสมดุลกัน จึงเกิดการหลั่งน้ำย่อยออกมาน้อยลง และบางครั้งลำไส้ก็เคลื่อนไหวน้อย ทำให้ลมถูกกักอยู่ในท้อง กรณีนี้มักพบในคนทำงานที่ต้องใช้สมอง และนั่งอยู่กับโต๊ะนาน ๆ
- การใส่สเตย์รัดหน้าท้อง หรือใส่เสื้อผ้ารัดรูปเกินไป เป็นการเอาสิ่งของไปกดหน้าท้อง ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวไม่ได้ตามธรรมชาติ
วิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
- รับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง รสจัด เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
- ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ
- รับประทานสมุนไพรที่มีฤทธิ์ขับลม เช่น กะเพรา กระเทียม ชะพลู ดีปลี กานพลู ว่านน้ำ จันทน์เทศ พริกไทย ข่า
นอกเหนือจากการรักษาอาการท้องอืดได้แล้ว ขิงยังสามารถรักษาอาการไอ มีเสมหะได้ โดยการใช้เหง้าขิงแก่ผสมกับน้ำมะนาว หรือเหง้าขิงสดตำผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำผสมเกลือนิดหน่อย ใช้กวาดคอ หรือจิบบ่อย ๆ และยังมีการศึกษาวิจัยพบว่า สารสกัดของขิงป้องกันการคลื่นไส้อาเจียน เมารถ เมาเรือได้ดี จึงจะมีการพัฒนาเป็นยาแก้คลื่นไส้อาเจียนของหญิงมีครรภ์
ภาพประกอบจาก: www.lovepik.com