Health4senior

มีสมุนไพรรักษาโรคพยาธิไหม

โรคพยาธิ นับว่าเป็นปัญหาสำคัญสำหรับประชากรไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอุปนิสัยในการบริโภคอาหารที่สุก ๆ ดิบ ๆ ในร่างกาย พบว่า 2 ใน 3 ของประชากรไทยจะมีหนอนพยาธิอยู่ และบางรายอาจมีมากกว่า 2 – 3 ชนิดในเวลาเดียวกัน การรักษานั้นขึ้นอยู่กับการติดเชื้อชนิดใด ก็ต้องเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับโรคนั้น ๆ อีกทั้งระยะเวลาในการถ่ายพยาธิแต่ละชนิดก็ไม่เท่ากัน

 

ยาต้านพยาธิที่ใช้ในปัจจุบัน จะเห็นว่ามีหลายชนิดเป็นยาสมุนไพร ซึ่งสืบเนื่องมาแต่ตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว เพียงแต่ไม่มีรายงานเกี่ยวกับสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ และผลทางเภสัชวิทยา ในต่างประเทศก็ยังมีการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคพยาธิเช่นกัน เช่น อังกฤษ อเมริกา และยุโรป

 

ส่วนในประเทศไทยจะขอกล่าวถึง สมุนไพรที่สามารถนำมาใช้ เป็นยาถ่ายพยาธิได้ ดังนี้

  1. มะเกลือ ใช้ผลดิบสด ๆ ซึ่งมีสีเขียวล้างให้สะอาด นำมาตำให้แหลกกรองเอาเฉพาะน้ำ ผสมหัวกะทิประมาณ 2 ช้อนชา ต่อมะเกลือ 1 ผล รับประทานครั้งเดียวให้หมด และทานเมื่อเตรียมเสร็จใหม่ ๆ บางคนนิยมผสมน้ำตาลกับเกลือเล็กน้อยจะทำให้ทานง่ายขึ้น ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิปากขอ พยาธิตัวตืด พยาธิเส้นด้าย และพยาธิตัวกลม แต่จะให้ผลดีที่สุดกับพยาธิปากขอ
  2. มะขาม ใช้เมล็ดคั่วให้เหลืองจัด นำมาแช่น้ำเกลือให้นุ่ม กะเทาะเปลือกสีน้ำตาลแดงออก ให้เด็กรับประทานครั้งละ 20 – 30 เมล็ด ใช้ขับพยาธิไส้เดือน และพยาธิเส้นด้ายในเด็ก
  3. ฟักทอง ใช้เมล็ดแห้ง 60 กรัม ตำให้ละเอียด ผสมน้ำตาลให้มีรสหวาน เติมนมและน้ำให้มีปริมาตรประมาณครึ่งลิตร แบ่งรับประทานเป็น 3 ครั้ง ห่างกันทุก 2 ชั่วโมง หลังดื่มยาครั้งสุดท้าย 2 ชั่วโมง ให้รับประทานน้ำมันละหุ่ง 15 ซีซี เพื่อให้ถ่ายออก ใช้ถ่ายพยาธิลำไส้ โดยเฉพาะพยาธิตัวตืดได้ดี
  4. มะหาด ใช้ผงปวกหาด 3 – 5 กรัม (เด็กครั้งละ 2 กรัม เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบใช้ 750 มิลลิกรัมต่ออายุ 1 ปี) ละลายน้ำเย็นดื่มตอนเช้ามืด หลังจากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมง ให้รับประทานดีเกลือ เพื่อให้ถ่ายพยาธิจะออกมากับอุจจาระ
  5. สะแก ใช้เนื้อในเมล็ดแก่ 1 ช้อนโต๊ะ (ประมาณ 3 กรัม) ตำให้ละเอียดนำมาทอดกับไข่ ให้เด็กรับประทานตอนท้องว่าง ใช้เป็นยาขับพยาธิไส้เดือน และพยาธิเส้นด้าย
  6. มะละกอ ใช้ยางมะละกอสดจากผลดิบประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับไข่ 1 ฟอง ตีให้เข้ากัน ทอดให้เด็กรับประทานให้หมดในช่วงเช้าขณะท้องว่าง หรืออาจใช้ยางสด 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำผึ้งเท่า ๆ กัน ผสมน้ำร้อนประมาณ 3 – 4 ช้อนโต๊ะ รับประทานครั้งเดียว ในเด็กอายุมากกว่า 10 ขวบ ถ้าอายุ 7 – 10 ขวบให้ลดลงครึ่งหนึ่ง หลังจากให้ยา 2 ชั่วโมง ให้รับประทานน้ำมันละหุ่ง 2 – 3 ช้อนชา เพื่อช่วยให้ถ่ายออก

นอกจากสมุนไพรที่กล่าวมา ยังมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่สามารถนำมาทำเป็นยาขับพยาธิได้อีก เช่น ตานหม่อน มะขามป้อม มะระไทย เล็บมือนาง กระเทียม ทับทิม หมาก เห็ดจิก ฯลฯ

 

ภาพประกอบจาก: www.qsbg.org

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก