โรคกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer) หมายถึง แผลที่เกิดในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น มีอาการปวดแสบ ปวดเสียด หรือจุกแน่นตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ (เหนือสะดือ) มักสัมพันธ์กับมื้ออาหาร สาเหตุหลักเกิดจากความเครียด มีอาการวิตกกังวล คิดมาก เคร่งเครียดกับการทำงาน หรือการเรียน และพฤติกรรมรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือรับประทานอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะและลำไส้
การปฏิบัติตัวเบื้องต้นในการรักษาโรคกระเพาะ คือ
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และรับประทาน 3 มื้อเป็นปกติ (ถ้าปวดมากให้ทานอาหารที่ย่อยง่าย) อย่ากินอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
- งดเหล้า เบียร์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม และบุหรี่ เพราะจะทำให้โรคกำเริบ
- ห้ามทานยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ ยาที่เข้าสเตียรอยด์ (ในรายที่จำเป็นต้องใช้รักษาโรคอื่นต้องปรึกษาแพทย์)
- คลายเครียดโดยการออกกำลังกาย หรือทำสมาธิ สวดมนต์ไหว้พระ
สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาการและลำไส้อักเสบ ได้แก่
- ขมิ้นชัน ส่วนที่ใช้เป็นยา คือ เหง้าแห้ง
วิธีใช้ คือ นำเหง้าแก่สดล้างให้สะอาด (ไม่ต้องปอกเปลือก) หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดด 1 – 2 วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งทำเป็นลูกกลอน หรือบรรจุแคปซูล (500 มก.) รับประทานวันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน ถ้าบางคนกินแล้วแพ้ให้หยุดยาทันที - กล้วย ส่วนที่ใช้เป็นยา คือ ผลกล้วยดิบ หรือผลห่าม
วิธีใช้ คือ นำกล้วยมาฝานเป็นแว่นตากแดดให้แห้ง นำไปบดเป็นผง ใช้เป็นชาชงกับน้ำ หรือน้ำผึ้งครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ดื่ม หรือทำเป็นยาลูกกลอน กินครั้งละ 4 เม็ด วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน บางทีต้องระวังอาจมีอาการท้องอืด เฟ้อ ป้องกันด้วยสมุนไพรขับลม เช่น น้ำขิง พริกไทย - สาหร่ายสไปรูลิน่า เป็นสมุนไพรที่มีคลอโรฟิลล์เป็นส่วนประกอบ ซึ่งจะให้ผลดีในการรักษาการอักเสบของกระเพาะ ญี่ปุ่นได้ศึกษาวิจัย พบว่า สามารถช่วยเคลือบผนังกระเพาะอาหาร ลดการบวมของเนื้อเยื่อ และมีสาร mesafirine ซึ่งสามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
- เห็ดหลินจือ ก็มีการบันทึกถึงสรรพคุณทางยา ที่ช่วยในการรักษาโรคกระเพาะอักเสบ และลำไส้อักเสบ โดยมีกรรมวิธีคือ การนำเห็ดหลินจือแห้งและสะอาดใส่ลงในหม้อเคลือบ หรือหม้อดิน ต้มจนเดือด แล้วหรี่ไฟลงให้น้ำเดือดปุด ๆ ต่อไปประมาณ 15 – 20 นาที จึงยกลง และควรดื่มน้ำสกัดจากเห็ดที่มีอุณหภูมิเท่าอุณหภูมิร่างกาย ดื่มแทนน้ำทั้งวัน