Health4senior

เป็นโรคเบาหวาน จะใช้สมุนไพรอะไรรักษาได้บ้าง

โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง มีสาเหตุมาจากร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้มีความสำคัญกับร่างกาย คือ ถ้าเรารับประทานอาหารเข้าไปเมื่อมีการเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส แล้วจะมีอินซูลินเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าไปสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานใช้ในการดำเนินชีวิต แต่เมื่อร่างกายขาดอินซูลิน หรือการออกฤทธิ์ไม่ดีร่างกายก็ไม่สามารถใช้น้ำตาลที่เกิดจากการกินอาหารเข้าไปได้ ส่งผลให้มีน้ำตาลในเลือดสูง และเกิดโรคเบาหวานตามมา การตรวจเบาหวานแพทย์แผนปัจจุบันจะใช้วิธีเจาะเลือด

 

อาการที่มักเกิดกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน คือ

  1. มีการปัสสาวะบ่อยในเวลาดึก เนื่องจากมีน้ำตาลในเลือดมากจึงมีการปัสสาวะบ่อย ทำให้สูญเสียน้ำในร่างกายตามมา ทำให้หิวน้ำบ่อย และปัสสาวะมีมดมาตอมด้วย
  2. มีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด เนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ จะมีการย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนออกมา
  3. กินเก่ง หิวเก่ง และมีอาการอื่น ๆ ร่วม เช่น คันตามผิวหนัง ถ้าแผลมีการติดเชื้อจะหายยาก
  4. ตามีอาการพร่ามัว และอาจมีอาการอาเจียน หรือชาตามร่างกายร่วมด้วย
ในส่วนของการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาโรคเบาหวานนั้น ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดในการรักษาโรคเบาหวานให้หายขาด แต่จะมีข้อมูลศึกษาในเรื่องของการนำสมุนไพรมาใช้ เพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งสมุนไพรที่ช่วยลดน้ำตาล และมีงานวิจัยยืนยัน ได้แก่
  • เพ็ญโฉม พึ่งวิชา, 2530 ศึกษาฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของรากเตยหอมในหนูที่เป็นเบาหวาน พบว่า ถ้าหนูเป็นเบาหวานปานกลาง เมื่อให้น้ำสกัดรากเตยหอมในขนาด 2 และ 4 กรัม/กก.น้ำหนักหนู ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยออกฤทธิ์หลังป้อนยา 1 ชั่วโมง และคงฤทธิ์อยู่นานไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง และถ้าหนูเป็นเบาหวานรุนแรงจะออกฤทธิ์หลังป้อนยา 2 – 3 ชั่วโมง ด้วยน้ำสกัดรากเตยหอม 4 กรัม/กก.น้ำหนักหนู
  • วิฑิต อรรถเวชกุล และชูสิทธิ์ พาณิชวิทิตกุล, 2522 ศึกษาฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของต้นไมยราบ พบว่า น้ำสกัดจากไมยราบ ขนาด 20 กรัม ต่อกระต่าย 1 ตัว จะออกฤทธิ์ลดน้ำตาลได้เท่ากับ Tolbutamide ขนาด 100 มก./กก.น้ำหนักกระต่าย และยาเริ่มออกฤทธิ์ 1 ชั่วโมง หลังได้รับยาและฤทธิ์สูงสุดในชั่วโมงที่ 5 ระดับน้ำตาลในเลือดสูงสุด 51.3 % ระยะเวลาที่ออกฤทธิ์มากกว่า 5 ชั่วโมง
  • ถวัลย์ จรดล และบัณฑิต ธีราทร, 2541 ศึกษาฤทธิ์รักษาโรคเบาหวานของผักตำลึง พบว่า น้ำยาสกัดตำลึงสามารถออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดเช่นเดียวกับ Tolbutamide แต่มีฤทธิ์ประมาณครึ่งหนึ่งของยาชนิดนี้ จะออกฤทธิ์หลังได้รับยา 1 ชั่วโมง และฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดนี้มีอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก