การทำทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต หนึ่งในปัญหาที่อาจเจอ คือ ทำมากเกินไปและน้อยเกินไป ซึ่งส่งผลเสียทั้งคู่ ยิ่งเรื่องการทำงานด้วยแล้ว หากเกินปัญหาขึ้น อาจส่งผลกระทบได้มาก เรามาดูกันว่าวันนี้คุณทำงานมากไป…ไหม
จำนวนชั่วโมงที่เหมาะสมในการทำงาน
- การทำงาน 39 ชั่วโมง/สัปดาห์ เป็นเวลาในอุดมคติ ที่สามารถมีสมดุลของชีวิตและมีสุขภาพที่ดี
- ผู้ที่ทำงานในลักษณะงานบริการ เช่น งานแม่บ้าน และงานที่เกี่ยวกับการดูแลจิตใจคน การลดชั่วโมงทำงานเหลือ 34 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เหมาะสมกว่า
- ชั่วโมงการทำงานที่ยาวขึ้น อาจไม่มีผลเชิงลบต่อสุขภาพจิตสำหรับบางคน แต่ความแตกต่างนั้นจะส่งผลต่อสุขภาพจิตได้ เมื่อไปถึงจุดหนึ่ง
ทำงานมากกว่า 55 ชั่วโมง อาจส่งผลเสียต่อหัวใจคุณได้
งานวิจัยโดย European Society of Cardiology (ESC) ศึกษาในชายและหญิง จำนวน 85,500 คน ระยะเวลา 10 ปี พบแนวโน้มที่เป็นลบของความสัมพันธ์ระหว่างชั่วโมงการทำงานกับสุขภาพหัวใจโดย
ผู้ที่ทำงานมากกว่า 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีแนวโน้มที่จะมีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติหรือภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว(Atrial Fibrillation-AF) มากกว่าคนที่ทำงาน 35 – 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และความสัมพันธ์ดังกล่าวยังคงอยู่ภายหลังจากการปรับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น อายุ การดื่มแอลกอฮอล์ เพศ ความอ้วน และการสูบบุหรี่ ออกแล้ว
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้อาจเชื่อมโยงได้ว่าการทำงานหลายชั่วโมง ทำให้เสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งทำให้เสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และยังมีผลกระทบด้านสุขภาพอื่น ๆ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว และภาวะสมองเสื่อมที่เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง
แนะนำอ่าน ไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
ชั่วโมงทำงานที่ยาว ส่งผลเสียต่อระบบนาฬิกาชีวภาพ
ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองไม่ได้เป็นเพียงแค่เหตุผลเดียว ที่คุณอาจต้องลดชั่วโมงการทำงานลง มีการศึกษาหลายๆการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า การทำงานแบบเป็นกะ และช่วงเวลาทำงานที่ยาว เช่น การทำงานล่วงเวลาเป็นประจำ เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงทางด้านสุขภาพและความปลอดภัยของชีวิตอย่างสำคัญ ความเสี่ยงเหล่านี้เกิดขึ้นเนื่องจาก พฤติกรรมในการใช้ชีวิตที่ขัดกับวงจรนาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythms) ทั้งนี้ร่างกายของหลายๆคนอาจไม่สามารถปรับตัวให้เข้านอนได้ในตอนกลางวันหรือในเวลาที่ไม่สม่ำเสมอได้ ดังนั้น ผู้ที่ทำงานเป็นกะ ผู้ที่ทำงานล่วงเวลา จึงอาจไม่ได้รับการนอนหลับเพียงพอ ระหว่าง 7 – 8 ชั่วโมง และมีแนวโน้มในการมีพฤติกรรมเสี่ยงเช่น ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ น้ำหนักมากขึ้น โรคอ้วนรวมถึงมีอัตราเจ็บป่วยและเสียชีวิตที่สูงขึ้น
แนะนำอ่าน เรื่องน่ารู้ วงจรนาฬิกาชีวิต (Biological clock)
จากข้อมูลข้างต้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนควรหันมาดูเคล็ดลับในการสร้างสมดุลในชีวิต
เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ
แหล่งข้อมูล : www.articles.mercola.com
ภาพประกอบ : www.freepik.com