สาเหตุที่พบบ่อย
- กล้ามเนื้ออักเสบ หรือกล้ามเนื้อคล็ด คอตกหมอน มักเกิดจากอิริยาบถ หรือท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น การแหงน หรือก้มหน้าเป็นเวลานาน นอนในท่าที่คอบิดไปข้างใดข้างหนึ่ง นอนหนุนหมอนที่สูง หรือแข็งเกินไป
- ความเครียด หรือปัญหาสายตา กล้ามเนื้อจะหดเกร็ง ทำให้ปวดคอ ท้ายทอยหรือขมับ ในช่วงบ่ายหรือเย็น
- อุบัติเหตุ ทำให้คอเคลื่อนไหวมากหรือเร็วกว่าปกติ เกิดกล้ามเนื้อ/เส้นเอ็นฉีกขาด หรือกระดูกคอเคลื่อน
- หมอนรองกระดูกแตก (เคลื่อน) กดทับเส้นประสาท หรือกดทับไขสันหลัง มีอาการปวดร้าวไปที่ไหล่ แขน และมือมีอาการชา หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง กามือไม่แน่น ถือของแล้วของตก เดินขาสั่น เดินเซ หรือกระตุก บางครั้งอาจมีอาการกลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้ (อุจจาระ หรือปัสสาวะราด) ร่วมด้วย
- กระดูกคอเสื่อม พบบ่อยในผู้สูงอายุ ไม่จำเป็นต้องเอกซเรย์ทุกคน เพราะในผู้สูงอายุทั่วไปก็พบว่ามีกระดูกงอก กระดูกเสื่อมได้ โดยไม่มีอาการและลักษณะของกระดูกงอกจากเอกซเรย์ก็ไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการปวด แต่ถ้าเป็นกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท หรือกดทับไขสันหลังอาการคล้ายกับข้อ 4
- กลุ่มอาการปวดไขสันหลัง โดยไม่ทราบสาเหตุ (พังผืดอักเสบ) เมื่อใช้งานกล้ามเนื้อนั้น ก็จะปวดมากขึ้นและรู้สึกอ่อนแรง มีจุดที่กดเจ็บชัดเจนและอาจคลำได้เป็นก้อนพังผืดแข็ง ๆ
- อื่น ๆ เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์โรคกระดูกสันหลังยึดติด (AS) การติดเชื้อแบคทีเรีย หูอักเสบ ไมเกรน เป็นต้น
การรักษาเบื้องต้น
- ระวังอิริยาบถ หรือท่าทางที่ไม่ถูกต้อง
- หลีกเลี่ยง การก้มหรือแหงนคอนานเกินไป หรือบ่อยเกินไป ถ้าจำเป็นก็ควรหยุดพักเป็นช่วง ๆ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อคอ หรือขยับเคลื่อนไหวคอ เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ สัก 2 – 3 นาทีทุก ๆ ชั่วโมง
- หมอน ควรจะมีความนุ่มและยืดหยุ่น จนแนบส่วนโค้งของคอ มีความหนาพอเหมาะทำให้คออยู่ในแนวตรง (เมื่อมองจากด้านข้าง) หลีกเลี่ยงการนอนอ่านหนังสือหรือดูทีวี เพราะทำให้คอแหงนมากเกินไป
- ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่น อาจใช้ครีมนวด ร่วมด้วยแต่อย่านวดแรงเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อฟกช้ำมากขึ้น
- รับประทานยา เช่น ยาพาราเซตามอล ยาต้านการอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
- กายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ เช่น
- ใส่เครื่องพยุงคอ ซึ่งควรใช้ชั่วคราวเท่านั้น เพราะถ้าใช้ติดต่อกันนาน ๆ จะทาให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น
- ดึงถ่วงน้ำหนักกระดูกคอ (ดึงคอ) นวดกล้ามเนื้อ ประคบด้วยความร้อน ความเย็น หรืออัลตร้าซาวน์
อาการที่ควรตรวจหาสาเหตุ หรือส่งต่อแพทย์เฉพาะทาง
- ปวดร้าวไปที่ไหล่ แขน หรือ มือ โดยอาจจะมีอาการชา หรือ กล้ามเนื้อมืออ่อนแรง ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
- ขาชาหรือขาอ่อนแรง เวลาเดินรู้สึกว่าขาจะสั่น เดินเซ เดินแล้วจะล้ม หรือรู้สึกขากระตุก
- กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้ ทำให้มีอุจจาระ หรือปัสสาวะราด
- ลองดูแลรักษาตนเอง 2-3 วัน แล้วไม่ดีขึ้น หรือรู้สึกเป็นมากขึ้น
วิธีบริหาร คอ
- เริ่มบริหาร ภายหลังจากอาการปวดทุเลาแล้ว
- ถ้าบริหารแล้วปวดมากขึ้นให้ลดจานวนครั้งลง หรือหยุดบริหารท่านั้นไว้ก่อน
- ทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ควรทำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (อย่างน้อยวันละ 2 – 3 รอบ) ติดต่อกัน 3-4 เดือน
- เพื่อให้ เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ทำท่าละ 5 – 10 เที่ยว
ก้ม – เงย
เอียง : ซ้าย – ขวา
หัน : ซ้าย – ขวา
ยืดกล้ามเนื้อ : ก้ม – ซ้าย – ขวา
- เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น โดยใช้มือต้านค้างไว้ 5 วินาที ทำท่าละ 5 – 10 เที่ยว
ก้ม : ฝ่ามือดันที่หน้าผาก
เงย – ฝ่ามือประสานกันที่ท้ายทอย
เอียง ซ้ายขวา : ฝ่ามือดัน เหนือใบหู
หัน ซ้ายขวา : ฝ่ามือดันคาง
- บริหาร กล้ามเนื้อสะบักและกล้ามเนื้อไหล่ ทำท่าละ 5 – 10 เที่ยว
แอ่นอก
ไหล่ – ยกขึ้นลง -หน้าหลัง – หมุน
ยกแขน : หน้า – หลัง – ด้านข้าง
ภาพประกอบจาก : www.freepik.com