เป็นที่ทราบกันดีว่า แสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นทำให้เกิดความเสื่อมของผิวหนังอย่างชัดเจน ดังนั้น การหลีกเลี่ยงแสงแดด ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง จึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตาม แสงแดดมีความสำคัญในการสร้างวิตามินดี ซึ่งมีความจำเป็นมากในการเสริมสร้างกระดูกโดยเฉพาะในวัยเด็ก
ดังนั้น หากไม่ได้รับแสงแดดมากพอ อาจพบปัญหากระดูกอ่อนในวัยเด็กและกระดูกบางในวัยสูงอายุได้ แต่ข้อจำกัดคือ ขณะนี้ข้อมูลต่าง ๆ ที่มียังไม่อาจสรุปได้ว่า ระดับวิตามินดีเท่าใด จำนวนพื้นที่ผิวหนังและระยะเวลาที่ควรได้รับแสงแดดนานเท่าไร จึงจะได้รับวิตามินดีเพียงพอ เพราะฉะนั้น การรับประโยชน์จากแสงแดด แม้จะเป็นเรื่องจำเป็น แต่ก็ยังมีเรื่องต้องระวังอยู่ โดยเฉพาะรังสี UVB ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายผิวหนังสูงที่สุด ดังนั้น การหลบเลี่ยงแสงแดด จึงควรทำอย่างพอเหมาะ ไม่มากจนเกิดภาวะขาดวิตามินดี
มีอะไรอยู่ในแสงแดด
สิ่งที่มาพร้อมกับแสงแดด และเป็นสาเหตุของอาการผิวหนังไหม้แดง ผิวคล้ำ ริ้วรอย รอยย่น ก็คือ รังสีอัลตร้าไวโอเล็ต หรือรังสียูวีนั่นเอง รังสียูวีที่อยู่ในแสงแดด ที่สามารถก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของ ผิวพรรณได้มีอยู่ 2 ชนิด กล่าวคือ รังสี UVA มีความยาวคลื่น 320 – 400 นาโนมิเตอร์ (nm) ทำให้ผิวคล้ำได้ภายในเวลา 30 นาที หลังได้รับแสงแดด และหากได้รับมากพอจะทำให้ผิวคล้ำนานกว่า 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ UVA ยังสามารถส่องผ่านไปถึงชั้นหนังแท้ได้มากกว่า UVB จึงมีส่วนสำคัญในการทำลายเนื้อเยื่อคอลลาเจนและเกิดรอยเหี่ยวย่นตามมา แสง UVA มีปริมาณมากกว่า UVB ประมาณ 10 เท่า รวมทั้งสามารถส่องผ่านกระจกได้ ดังนั้น หากอยู่ในอาคารหรือรถยนต์ก็ยังสามารถได้รับรังสี UVA ปริมาณมาก รังสี UVB มีความยาวคลื่น 290 – 320 นาโนมิเตอร์ (nm) มีปริมาณรวมคิดเป็นประมาณร้อยละ 10 ของแสงแดดทั้งหมดที่ผ่านมายังพื้นโลก
การปกป้องผิวจากแสงแดด สำคัญอย่างไร
การปกป้องผิวด้วยผลิตภัณฑ์กันแดด แม้ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันแสงแดด แต่เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุดโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง เนื่องจากมีความคล่องตัวสูง ใช้ได้กับทุกกิจกรรมโดยเฉพาะกีฬาหลายชนิด เช่น การว่ายน้ำ เป็นต้น สาเหตุที่กล่าวว่าการใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดก็เนื่องจาก ผลิตภัณฑ์กันแดดไม่สามารถป้องกันแสงแดดได้ทุกความยาวคลื่น การป้องกันได้ก็เฉพาะแสง UVA และ UVB บางส่วนเท่านั้น เมื่อสารเหล่านี้โดนเหงื่อหรือน้ำ ก็จะเสื่อมประสิทธิภาพลงไปทำให้ปกป้องผิวได้ไม่เต็มที่
ประเภทของสารกันแดด
- สารกันแดดที่มีคุณสมบัติในการดูดซับแสง และเกิดปฏิกิริยาเคมี
- สารกันแดดที่มีคุณสมบัติทึบแสง ทำให้แสงไม่สามารถส่องผ่านไปได้ แต่จะถูกสะท้อนออกมา และไม่เกิดปฏิกิริยาเคมี
- สารกันแดดกลุ่มที่มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถออกฤทธิ์ดูดซับและสะท้อนแสงได้โดยไม่เกิด ปฏิกิริยาเคมี
- สารที่ทำให้ผิวมีสีคล้ำขึ้น เพื่อให้แสงผ่านได้น้อย (Tanning sunscreen)
การวัดประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์กันแดด
ในอดีตผลิตภัณฑ์กันแดด เป็นเครื่องสำอางซึ่งมีคุณสมบัติเคลือบให้ผิวเป็นสีแทน หรือช่วยลดความแห้งของผิวภายหลังจากถูกแสงแดด แต่ปัจจุบันผลิตภัณฑ์กันแดดเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญ จึงต้องมีมาตรฐาน ในการวัดประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์กันแดดเกิดขึ้น เพื่อเป็นตัวช่วยในการเลือก
ประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVB
ประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVB ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แสงที่ใช้ในการทดสอบ คือ แสงจากหลอดซีนอนซึ่งคล้ายแสงแดดเทียม โดยทาสารกันแดดปริมาณ 2 มก./ตร.ซม. หรือ 2 ไมโครลิตร/ตร.ซม. บนผิวหนัง ให้มีความหนาสม่ำเสมอ ทิ้งไว้นาน 15 นาที ก่อนทำการทดสอบวัดอัตราส่วนปริมาณแสงที่ทำให้ผิวหนังแดงมีขอบเขตชัดเจน เมื่อไม่ทาผลิตภัณฑ์กันแดดเปรียบเทียบกับเมื่อทาผลิตภัณฑ์กันแดด โดยทั่วไปปริมาณแสง UVB ที่ทำให้ผิวไหม้แดงจะเกิดขึ้นภายในเวลาประมาณ 30 วินาที ถึง 1 นาทีเท่านั้น ดังนั้น การทดสอบส่วนใหญ่จะใช้เวลาสั้นกว่า 30 นาที – 1 ชั่วโมง สำหรับผลิตภัณฑ์กันแดดที่มี SPF 15 – 60
ตัวเลขที่ตามหลังคำว่า SPF เช่น SPF 30 มีความหมายว่า หากทาครีมกันแดดชนิดดังกล่าว หนา 2 มก./ตร.ซม. ผิวหนังจะได้รับแสง UVB เพียง 1 ใน 30 ของปริมาณแสง UVB ในขณะนั้นหรือประมาณร้อยละ 3.3 เป็นต้น ดังนั้น การทาผลิตภัณฑ์กันแดดจะช่วยกรองแสง UVB ออกไปได้มากน้อยตามค่า SPF ที่ระบุไว้ เช่น ผลิตภัณฑ์กันแดด SPF 2 จะลดปริมาณแสง UVB ไปครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50 ในขณะที่ผลิตภัณฑ์กันแดด SPF 50 จะกรองแสง UVB ออกไปถึงประมาณร้อยละ 98 เหลือมาที่ผิวหนังเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น ปัจจุบัน ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการกันแดดของผลิตภัณฑ์กันแดดอยู่ กล่าวคือ มีการบอกต่อ ๆ กันว่าการทาครีมกันแดด SPF 30 จะทำให้ผิวหนังไหม้แดงที่เวลา 30 x 15 นาที หรือเท่ากับ 450 นาที หรือ 7.5 ชั่วโมง ในความเป็นจริงแล้วยากที่จะเป็นเช่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความร้อน เหงื่อ น้ำ การเสียดสี ลมพัด และความเข้มของแสงในแต่ละตำแหน่งบนผิวโลก ต้องเข้าใจว่าสถานการณ์เป็นจริงกับการทดสอบในห้องทดลองที่มีการควบคุมปัจจัย ทุกอย่างไว้มีความแตกต่างกันอย่างมาก
พบว่าประสิทธิภาพของครีมกันแดด ที่ทดสอบโดยใช้แสงแดดธรรมชาติมักต่ำกว่าค่า SPF ที่ได้จากการทดสอบโดยใช้หลอดไฟในห้องทดลอง และจากการวิจัยยังแสดงว่า ยิ่งค่า SPF ในห้องทดลองสูงเท่าไร ก็ยิ่งมีความคลาดเคลื่อนในสถานการณ์เป็นจริงมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น ค่า SPF ที่มีความน่าเชื่อถือ จากการทดสอบและมีประสิทธิภาพดี เมื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน คือ ค่า SPF ไม่สูงกว่า 40 แต่โดยทั่วไปถือว่า SPF ประมาณ 15 น่าจะเพียงพอสำหรับการป้องกันผิวไหม้แดงตลอดวัน
ประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA
อันที่จริง รังสี UVA ที่ส่องลงมายังพื้นโลกแม้จะมีปริมาณสูงกว่า UVB ถึง 20 เท่า แต่เนื่องจากความยาวคลื่นที่ยาวทำให้มีพลังงานต่ำ ในการทำให้ผิวแดงด้วยรังสี UVA ต้องใช้พลังงานมากกว่า UVB ถึง 1,000 เท่า การศึกษาในระยะแรก จึงมุ่งเน้นไปเพื่อป้องกันรังสี UVB เป็นหลักแต่การป้องกันรังสี UVA ก็เป็นเรื่องจำเป็นไม่แพ้การป้องกันรังสี UVB เนื่องจากต่อมานักวิทยาศาสตร์เริ่มสนใจศึกษาความสามารถของรังสี UVA ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังและพบว่าร้อยละ 30 ของรังสี UVA สามารถส่องผ่านลงไปได้ลึกถึงชั้นหนังแท้ จึงสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเส้นใยอีลาสติด คอลลาเจนและหลอดเลือดได้ แม้จะไม่ได้ทำให้ผิวหนังแดงก็ตาม ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงโดยไม่ผ่านกลไกของการอักเสบของผิวหนังแท้ แต่เกิดจากอนุมูลอิสระ ดังนั้น การศึกษาในระยะหลังจึงเริ่มพบว่ารังสี UVA อาจมีบทบาทสำคัญในการเกิดมะเร็งผิวหนังจากเม็ดสีชนิด melanoma ด้วย
- ระยะเฉียบพลัน จะเกิดขึ้นทันทีหลังได้รับรังสี UVA จากนั้นจะมีการลดลงของความเข้มของสีผิวอย่างรวดเร็วในระยะ 2 ชั่วโมง
- ระยะ ไม่เฉียบพลัน จะเกิดภายหลังได้รับรังสี UVA ปริมาณสูงกว่า หลังจากนั้นความเข้มของสีผิวจะคงที่อยู่ประมาณ 24-48 ชั่วโมง ก่อนจะจางลงในที่สุด
ดังนั้น การประเมินประสิทธิภาพของรังสี UVA ที่ดี จึงทำได้โดยการวัดประสิทธิภาพในการป้องกันผิวคล้ำ ซึ่งหลักการทดสอบคล้ายการทดสอบประสิทธิภาพการป้องกันรังสี UVA หรือค่า SPF แต่วัดความเปลี่ยนแปลงของสีผิวที่คล้ำขึ้นเมื่อทาสารกันแดด เปรียบเทียบกับที่ไม่ทากันแดด
- ระดับแรก PA+ สามารถป้องกันรังสี UVA ได้ 2 – 4 เท่า หรือร้อยละ 50 – 75
- ระดับที่สอง PA++ ป้องกันได้ 4 – 8 เท่า หรือ > ร้อยละ 75 – 88 และ
- ระดับสูงสุดคือ PA+++ ป้องกันแดดได้มากกว่า 8 เท่าหรือ > ร้อยละ 88
จากการศึกษาผลิตภัณฑ์กันแดดหลากหลายชนิด ผลปรากฏว่าความสามารถในการป้องกันรังสี UVA (ค่า PA) ไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการป้องกันรังสี UVB (ค่า SPF) ดังนั้น ข้อกำหนดในสหภาพยุโรประบุว่า ความแตกต่างของความสามารถในการป้องกันรังสี UVB หรือค่า SPF เมื่อเทียบกับความสามารถในการป้องกัน UVA หรือค่า PA ต้องไม่ต่างกันมากเกินกว่า 3 เท่า เช่น ยากันแดดที่มี SPF 30 ต้องสามารถป้องกัน UVAได้ ≥ 10 เป็นต้น
ความสามารถในการกันน้ำ
ความสามารถในการกันน้ำของผลิตภัณฑ์กันแดด มีความสำคัญในกรณีที่เล่นกีฬากลางแจ้ง หรือว่ายน้ำ เนื่องจากสารกันแดดทั่วไปที่ผสมในครีมทาผิวและไม่ได้ทำการทดสอบ ส่วนมากจะไม่มีความสามารถในการกันน้ำเลย การทดสอบความสามารถในการกันน้ำขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ได้มีข้อกำหนดไว้ 2 ประเภท คือ water resistant อาสาสมัครจะทายากันแดด 20 นาทีก่อนแช่อยู่ในอ่างน้ำวน หรือ whirlpool jacuzzi เป็นเวลา 20 นาที 2 รอบ โดยให้มีการขึ้นมาจากน้ำ 20 นาที ระหว่างการแช่ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 และจะทดสอบค่า SPF อีกครั้งเมื่อขึ้นจากน้ำแล้ว 20 นาที คือที่ 100 นาที หลังการทาครีมกันแดดครั้งแรก very water resistant จะทำเหมือนการทดสอบแรก แต่รวมแล้วใช้เวลาอยู่ในน้ำทั้งสิ้น 80 นาที โดยแช่ครั้งละ 20 นาทีเป็นเวลา 4 ครั้ง ครีมกันแดดที่จะผ่านการทดสอบ และอ้างว่ากันน้ำได้จะต้องมีค่า SPF หลังแช่น้ำเท่ากับ SPF ก่อนแช่น้ำ สำหรับประเทศออสเตรเลีย มีข้อบังคับและการทดสอบที่แตกต่างกันออกไป โดยทำการแช่น้ำ 2 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที แล้วขึ้นมาพักระหว่างครั้งเพียง 5 นาที การทดสอบอาจทำในสระน้ำธรรมดา หรือ Spa ก็ได้ ภายหลังการทดสอบค่า SPF จะลดลงกว่าก่อนการทดสอบได้ไม่เกินร้อยละ 50 และไม่อนุญาตให้ใช้คำว่า waterproof
นอก จากนี้ การอ้างความสามารถในการกันน้ำจะต้องสัมพันธ์กับค่า SPF ด้วย เช่น SPF<4 spf=”” 8=”” 15=”” 2=”” br=””> ภาพ แล้ว คือ ปริมาณครีมกันแดดที่ทาในต่างประเทศ มีการศึกษาหลายชิ้นระบุว่า บุคคลทั่วไปทาครีมกันแดดหนาระหว่าง 0.5 – 1.5 มก./ตร.ซม. เท่านั้น ซึ่งปริมาณดังกล่าวมีผลทำให้ค่า SPF ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 20 – 50 ของค่าที่ระบุไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้จากทดสอบโดยทาครีมหนาตามมาตรฐาน 2 มก./ตร.ซม.
ดังนั้น จึงมีการผลิตครีมกันแดดที่มี SPF สูงขึ้น เช่น SPF 30 โดยหวังว่าการทาครีมลดลงร้อยละ 50 จะสามารถเพิ่มการป้องกันให้อยู่ในระดับเทียบเท่ากับ SPF 15 ได้ ข้อจำกัดอีกประการที่ทำให้การทาครีมกันแดดไม่ได้ปริมาณมากเท่าที่ควรนั้น คือการที่ไม่สามารถทาครีมได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากผิวหนังมนุษย์มีลักษณะไม่เรียบ การทาปริมาณน้อยจำนวนครีมส่วนมากจะไปค้างอยู่บริเวณร่องริ้วของผิวหนัง ทำให้ผิวหนังส่วนที่นูนไม่ถูกคลุมด้วยสารกันแดด เป็นเหตุให้เกิดการไหม้แดงได้แม้จะได้ชื่อว่าทาครีมป้องกันแล้วก็ตาม
ในปัจจุบัน แพทย์ส่วนใหญ่และผู้ผลิตจึงพยายามเน้นให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากแสงแดด ทาครีมกันแดดให้หนาขึ้น หรือแนะนำให้ทาซ้ำทุก 2 – 3 ชั่วโมง เพื่อประสิทธิภาพในการปกป้องผิวสูงสุด เมื่อทราบดังนี้แล้ว การทาครีมกันแดดครั้งต่อไปของคุณ ก็อย่าลืมทาให้ถูกต้องนะคะ
แหล่งที่มา: www.dst.or.th
ภาพประกอบ www.freepik.com