Health4senior

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)

ความดันโลหิต (Blood pressure) เป็นหนึ่งใน 4 สัญญาณชีพของมนุษย์ ประกอบไปด้วยชีพจร ( Pulse) อัตราการหายใจ (Respiratory rate) อุณหภูมิร่างกาย (Body Temperature) และความดันโลหิต ที่สามารถบอกถึงสุขภาพและโรคต่าง ๆ ได้

ความดันโลหิตหรือความดันเลือด (Blood pressure) คือ แรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือดแดง อันเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ ซึ่งสามารถวัดโดยใช้เครื่องวัดความดัน วัดที่แขนซึ่งจะได้ค่าที่วัด 2 ค่า โดยค่าตัวแรกหรือค่าตัวบน เรียกค่าความดันโลหิตซีสโตลิค (Systolic blood pressure) เป็นค่าความดันในหลอดเลือดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวสูบฉีดเลือดเข้าสู่หลอดเลือด และค่าตัวตามหรือค่าตัวล่าง เรียกค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค (Diastolic blood pressure) เป็นค่าความดันในหลอดเลือดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัว โดยความดันปกติควรจะต่ำกว่า 120/80 มม.ปรอท หากสูงกว่าแต่ไม่ถึง 140/90 มม.ปรอท จัดอยู่ในระดับปกติค่อนข้างสูง ทั้งนี้การวัดความดันโลหิตควรวัดในขณะพัก และวัดซ้ำ 2 – 3 ครั้ง ห่างกัน 1 นาที แล้วหาค่าเฉลี่ยของความดันที่วัดได้

ความดันโลหิตสูง (Hypertension) จะหมายถึง ความดันช่วงบนมีค่าตั้งแต่ 140 มม.ปรอทขึ้นไป หรือความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 90 มม.ปรอทขึ้นไป โดยการแบ่งระดับความรุนแรงสามารถแบ่งได้ดังนี้

[supsystic-tables id=1]

 

ทั้งนี้ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงต้องเป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจากการวัดอย่างต่อเนื่อง โดยความดันโลหิตที่สูงขึ้นเพียงชั่วคราว  เช่น ขณะเครียด ดีใจ ตื่นเต้น ออกกำลังกาย ไม่จำเป็นต้องรักษาแต่อย่างใด

ในบางกรณีอาจพบผู้ที่มีความดันตัวบนสูงเดี่ยว เช่น ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยบางโรค อาทิ  ผู้ป่วยหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ ผู้ป่วยคอพอกเป็นพิษ ในขณะที่ผู้ที่มีความดันตัวล่างสูงเดี่ยว พบได้น้อยและมีวิธีการรักษาและข้อแนะนำเหมือนกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั่วไป

แนะนำอ่าน อยากให้สุขภาพดี เริ่มตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง

 

อาการ

อาการที่พบบ่อย
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะไม่มีอาการใดๆ และมักตรวจพบโดยบังเอิญ ขณะไปให้แพทย์ตรวจรักษาด้วยปัญหาอื่นๆ ส่วนน้อยอาจมีอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ ในรายที่เป็นมานานๆ หรือความดันสูงมากๆ อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ มือเท้าชา ตามัว

โดยเมื่อปล่อยความดันโลหิตสูงทิ้งไว้นาน ๆ จะส่งผลต่ออวัยวะที่สำคัญๆ เช่น หัวใจ หลอดเลือด สมอง ไต ประสาทตา เป็นต้น ส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อน เช่น

  • ภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตก (Stroke) กรณีเฉียบพลันอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ (Paresis) อัมพาต (Paralysis) หรือเสียชีวิต ในกรณีที่เป็นเรื้อรัง อาจทำให้เป็นโรคสมองเสื่อม (Dementia) ได้
  • ภาวะผนังหัวใจหนาตัวและยืดออก ส่งผลให้หัวใจโต และเกิดภาวะหัวใจวาย (Heart failure) ได้
  • ภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการอุดตันเฉียบพลัน เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Myocardial infarction) และเกิดหัวใจวาย อาจเสียชีวิตอย่างปัจจุบันทันด่วนได้
  • ภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ ทำให้ไตกรองของเสียได้ไม่เต็มที่ เกิดภาวะไตวาย (Renal failure) และส่งผลกลับทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นอีก
  • ภาวะหลอดเลือดแดงในตาเสื่อม อาจมีเลือดออกที่จอตา ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัวหรือตาบอดได้

โดยจากข้อมูลทางการแพทย์พบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและไม่ได้รับการรักษา 60 – 45% จะเสียชีวิตจากหัวใจวาย 20 – 30% จะเสียชีวิตจากหลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก และ 5 – 10% จะเสียชีวิตจากไตวายเรื้อรัง

แนะนำอ่าน วิ่งหรือเล่นกีฬาอย่างไร ไม่ตาย ปลอดภัยกลับบ้านแน่ ๆ

 

สาเหตุ

  • ผู้ป่วย 90 – 95% เป็นความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เรียกความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ (Primary hypertension) โดยแพทย์จะตรวจไม่พบโรคหรือภาวะผิดปกติที่เป็นสาเหตุ เริ่มพบภาวะความดันโลหิตสูงในผู้ที่มีอายุประมาณ 25 – 55 ปี พบมากในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และยิ่งอายุมากโอกาสพบภาวะนี้ยิ่งสูงขึ้น
  • ผู้ป่วย 5 – 10% เป็นความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุ เรียกว่าความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ (Secondary hypertension) มักพบความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นก่อนอายุ 25 ปี หรือหลังอายุ 55 ปี โดยตัวอย่างของสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ในกลุ่มนี้ ได้แก่
    • ป่วยด้วยโรคไต เช่น โรคไตเรื้อรัง กรวยไตอักเสบเรื้อรัง หน่วยไตอักเสบ โรคถุงน้ำไตชนิดหลายถุง หลอดเลือดแดงไตเสื่อม ฯลฯ
    • ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) หลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ
    • ป่วยด้วยโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น คอพอก เนื้องอกบางชนิดของต่อมหมวกไตหรือต่อมใต้สมอง โรคคุชชิง
    • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea)
    • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์, ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์, ยาเม็ดคุมกำเนิด/เอสโตรเจน, อะดรีนาลิน/ซูโดอีเฟดรีน, ไซโคลสปอริน, อิริโทรมัยซิน, อีริโทรโพอิติน, รวมไปถึงการใช้สารเสพติดอย่างแอมเฟตามีน/โคเคน.
      แนะนำอ่าน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)

 

การวินิจฉัย

การวัดระดับความดันโลหิตเป็นสิ่งสำคัญ โดยเจ้าหน้าที่จะทำการวัดความดันโลหิตด้วยวิธีที่ถูกต้อง ด้วยเครื่องวัดฯที่มีคุณภาพมาตรฐาน จำนวน 2 ถึง 3 ครั้ง แล้วหาค่าเฉลี่ยต่อการบันทึก 1 ครั้ง ในกรณีที่อยู่ในเกณฑ์ความดันโลหิตสูง แพทย์อาจพิจารณานัดวัดซ้ำอย่างน้อย 2 ครั้ง ใน 4 สัปดาห์ถัดมา ในกรณียังมีความดันโลหิตสูง นอกเหนือจากการซักประวัติทางการแพทย์ การตรวจร่างกายแล้ว แพทย์อาจพิจารณาตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุหรือผลข้างเคียงจากโรคอื่น  เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด  ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG, EKG) ตรวจไขมัน หรือตรวจด้วย CT scan ทั้งนี้การตรวจเพิ่มเติมต่าง ๆ จะขึ้นกับอาการผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์

แนะนำอ่าน แนวทางการเลือกซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต

 

การรักษา

สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงในระยะแรก  แพทย์จะให้ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว เช่น การควบคุมน้ำหนัก ลดการกินอาหารเค็ม งดสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พิจารณาตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG, EKG) เพื่อหาสาเหตุที่อาจมาจากโรคอื่น และนัดตรวจวัดความดันเป็นระยะ ๆ ในกรณีที่ค่าความดันยังสูงอยู่ เช่นเดียวกับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงในระยะปานกลางและรุนแรง แพทย์จะพิจารณาให้ยาลดความดันโลหิต

การให้ยาลดความดันโลหิต แพทย์จะเริ่มพิจารณาให้ในแบบยาตัวเดียว และใช้โดสน้อยๆก่อน ถ้าไม่ได้ผลจะมีการปรับโดสเพิ่มขึ้น ในกรณีที่การให้ยาตัวเดียวไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาให้ยา 2 – 3 ชนิดร่วมกัน ตัวอย่างของยาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางเพื่อลดความดันโลหิต

  • ยาในกลุ่ม เอจอินฮิบิเตอร์ (Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors) ตัวอย่างเช่น Benazepril, Captopril, Enalapril, Lisinopril
  • ยาในกลุ่ม แคลเซียม แชลแนล บล็อกเกอร์ (Calcium channel blockers) ตัวอย่างเช่น Diltiazem, Verapamil, Nifedipine
  • ยาขับปัสสาวะในกลุ่ม ไทเอไซด์ (Thiazide) ตัวอย่างเช่น Furosemide, Torasemide
  • ยาในกลุ่ม อัลฟ่า บล็อกเกอร์ (Alpha-blockers) ตัวอย่างเช่น Doxazosin, Trazodone
  • ยาในกลุ่ม เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta-blockers) ตัวอย่างเช่น Atenolol, Bisoprolol, Carvedilol

ทั้งนี้ในการรักษาความดันโลหิตสูง แพทย์จะมีการวางแผนการรักษาให้สอดคล้องกับโรคที่ผู้ป่วยเป็นและเกี่ยวเนื่องกับความดันโลหิต ทั้งโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง โรคที่เป็นผลแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต เป็นต้น

 

ข้อแนะนำและการป้องกัน

  • ปรับพฤติกรรมการกิน มีหลายข้อที่ควรทำ เช่น หลีกเลี่ยง หรือลดการใช้เนย ไขมัน และน้ำมัน ในการปรุงอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารทอดให้รับประทานอาหารประเภทอบ นึ่ง ต้ม แทน รับประทานอาหารประเภทผัก ถั่ว ผลไม้ ให้มากขึ้น ดื่มน้ำ กาแฟที่ไม่มีคาเฟอีน นมพร่องไขมัน และน้ำผลไม้.
  • ลดการรับประทานอาหารเค็ม การรับประทานเกลือมาก จะทำให้ความดันโลหิตสูง และไตทำงานหนักควรศึกษาปริมาณเกลือโซเดียมในอาหาร เพื่อวางแผนการลดการบริโภค รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารประเภทของดองเค็ม เนื้อเค็ม ซุปกระป๋อง ใช้เครื่องเทศแทนเกลือ หรือผงชูรส เลือกรับประทานแต่อาหารที่มีปริมาณเกลือต่ำ
  • หยุดสูบบุหรี่ รวมทั้งงดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็งปอด อัมพาต โรคหัวใจขาดเลือด รวมถึงความดันโลหิตสูง เช่นเดียวกับการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก เป็นปัจจัยที่ทำให้ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
  • เพิ่มการออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่เหมาะสม หัวใจ หลอดเลือด ปอด กล้ามเนื้อต่างๆทำงานดีขึ้น ระบบไหลเวียนโลหิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลดีต่อร่างกายในการควบคุมความดันโลหิต.
    แนะนำอ่าน ใครยังไม่ได้ออกกำลังกาย อ่านเรื่องนี้เลย
  • ลดน้ำหนัก เน้นลดการกินอาหารประเภทไขมันชนิดอิ่มตัว เช่น อาหารมัน อาหารทอด ขาหมู และคาร์โบไฮเดรต พวกแป้งและน้ำตาล เช่น ก๋วยเตี๋ยว เผือก มัน น้ำอัดลม อาหารที่มีความหวานมาก ควบคู่กับการออกกำลังกาย เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน แม้ผู้ที่ไม่มีปัญหาเรื่องความอ้วน การลดน้ำหนัก ยังสามารถช่วยลดความดันโลหิตและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
  • หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอารมณ์เครียด พยายามเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้เครียด ทั้งที่ทำงาน และที่บ้าน ฝึกรับมือกับความเครียด เช่น ทำสมาธิ บริหารจิต ฟังเพลง การพักผ่อน เป็นต้น
  • รับประทานยาให้สม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง แจ้งให้แพทย์ท่านทราบถึงยาต่าง ๆ ที่ท่านรับประทานอยู่เช่น  ยาคุมกำเนิด ยาแก้ปวด เป็นต้น รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด หากมียาชนิดใดที่ทำให้รู้สึกไม่สบาย ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที ควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ จนกว่าแพทย์บอกให้หยุด
  • ตรวจวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ สัปดาห์ละครั้ง โดยควรจดบันทึกวัน เวลา ค่าที่วัดได้ทุกครั้ง พร้อมสื่อสารกับแพทย์ หากมีปัญหาในการควบคุมความดันโลหิต.
    แนะนำอ่าน แนวทางการเลือกซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต

 

แหล่งข้อมูล

  1. http://www.thaihypertension.org/information.html สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย
  2. www.medthai.com
  3. www.honestdocs.co

.

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก