Health4senior

เรียนรู้ เรื่องเหน็บชา

อาการ “เหน็บชา” หรือ “อาการชา” พบได้บ่อยและมีอยู่หลายแบบ บางคนแค่ชาเฉพาะที่เป็นครั้งคราวจากการนั่งหรือนอนผิดท่า แค่เปลี่ยนท่าทางชั่วครู่ก็หายได้ แต่อาการชาของบางคนนั้นบ่งบอกถึงความผิดปกติที่มีการกดทับเส้นประสาทบริเวณต่าง ๆ จนอาจต้องถูกผ่าตัดเลยก็มี

ดังนั้นหากเราเรียนรู้ลักษณะของอาการชาประเภทต่าง ๆ ไว้ ก็จะช่วยวินิจฉัยโรคของตัวเองในเบื้องต้นได้บ้าง จะได้ไม่ตกใจจนเกินเหตุ หรือจะได้ไม่ชะล่าใจจนเกินไป

 

อาการชา แบบไหน บริเวณไหน

สิ่งสำคัญคือ ต้องสังเกตตัวเองให้ดีว่ามีอาการชาแบบไหน และชาบริเวณไหนกันแน่ อย่านำไปปนกับอาการปวด มันคนละเรื่องกัน ปวดก็คือปวด แต่ชาคือการที่มีความรู้สึกในบริเวณนั้นน้อยลง คนไข้เองก็ต้องให้ความร่วมมือ ตั้งสติและสังเกตตัวเองให้ดี อย่าบอกมั่ว ถ้ามั่วไปก็วินิจฉัยไม่ถูกหรือถ้าบอกบริเวณที่ชาผิดตำแหน่งก็อาจจะกลายเป็นคนละเรื่อง คนละโรคกันไปเลย บางคนถึงขั้นถูกผ่าตัดผิดที่ก็มีมาแล้ว

เกือบทุกคนคงเคยมีอาการเหน็บชาเฉพาะที่จากการนั่งหรือนอนผิดท่าเป็นครั้งคราว ซึ่งเกิดจากการกดทับเส้นประสาทบางเส้น เช่น เหน็บชาบริเวณเท้าขณะนั่งพับเพียบไหว้พระ เมื่อเปลี่ยนท่าสักครู่อาการก็จะหายไป แต่ถ้ายังฝืนทนหรืออยู่ในสภาพที่ไม่สามารถเปลี่ยนท่าได้ เช่น หลับลึก เมาสุรา ป่วยหนัก พิการทางสมอง เป็นต้น เส้นประสาทที่ถูกกดทับจะช้ำมากจนไม่สามารถฟื้นคืนสภาพปกติภายในเวลาอันสั้น หรืออาจเสียหายถาวรได้

 

สาเหตุที่พบบ่อย

1. ชาปลายเท้าและปลายมือเข้าหาลำตัว
2. ชามือ เท้าไม่ชา

  • ชาปลายนิ้วมือเกือบทุกนิ้ว แต่นิ้วก้อยไม่ชาหรือชาน้อย มักเป็นกลางคืนหรือตอนตื่นนอน ในตอนกลางวันมักชามากในบางท่า เช่น ชูมือ ขี่มอเตอร์ไซค์ ถือโทรศัพท์ หรือใช้มือทำงานหนัก สาเหตุเกิดจากเอ็นกดทับเส้นประสาทตรงข้อมือ ต้องลดงานที่ใช้มือลง เลี่ยงท่าที่ทำให้ชา บางคนอาจต้องฉีดยาที่ข้อมือ
  • ชานิ้วก้อย นิ้วนาง และขอบมือด้านเดียวกัน แต่ไม่เลยเกินข้อมือ เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับตรงข้อศอก ให้เลี่ยงท่าที่ทำให้ชา (ถ้าชาเลยข้อมือขึ้นมาถึงศอก จะเกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณกระดูกไหปลาร้า ควรปรึกษาแพทย์)
  • ชาหลังมือไม่เกินข้อมือ โดยเฉพาะบริเวณง่ามระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับที่ต้นแขน ห้ามนั่งเอาแขนพาดพนักเก้าอี้ แต่ถ้าชาเลยขึ้นมาถึงแขน เกิดจากเส้นประสาทบาดเจ็บบริเวณรักแร้
  • ชาเป็นแถบตั้งแต่แขนลงไปถึงนิ้วมือ เกิดจากกระดูกต้นคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท ควรปรึกษาแพทย์
    แนะนำอ่าน ระบบประสาท (Nervous system)

3. ชาเท้า มือไม่ชา

  • ชาหลังเท้าขึ้นมาถึงหน้าแข้ง เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณใต้เข่าด้านนอก ให้เลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง ขัดสมาธิ พับเพียบ และห้ามใช้อะไรรองใต้ข้อพับเข่าเวลานอน
  • ชาฝ่าเท้า เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับที่ตาตุ่มด้านในหรือในอุ้งเท้า ให้เลี่ยงท่าที่ทำให้ชาและลดการยืนหรือเดินนาน ๆ
  • ชาทั้งเท้า ข้างใดข้างหนึ่ง มักชาขึ้นมาถึงใต้เข่า เกิดจากเส้นประสาทบาดเจ็บที่สะโพก ควรปรึกษาแพทย์
  • ชาด้านนอกของต้นขา คล้ายยืนล้วงกระเป๋ากางเกง เส้นประสาทจะถูกกดทับที่ขาหนีบ ควรหลีกเลี่ยงการงอพับบริเวณสะโพก
  • ชาเป็นแถบจากสะโพกลงไปถึงเท้า เกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ควรปรึกษาแพทย์
.4. อาการชาอื่น ๆ ที่ควรปรึกษาแพทย์
เช่น ชาครึ่งซีก (ซ้ายหรือขวา) ชาครึ่งตัว (บนหรือล่าง) ชาบริเวณใบหน้าและศีรษะ หรือชาเป็นแถบบริเวณอื่น ๆ 
การศึกษารูปแบบของอาการชาหลาย ๆ ลักษณะนี้ จะเกิดประโยชน์เมื่อผู้อ่านมีอาการแล้วสังเกตตำแหน่งได้ถูกต้อง ทำให้รู้ว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร และควรไปปรึกษาแพทย์หรือไม่ ที่สำคัญคือถ้าจะไปปรึกษาแพทย์ก็ต้องตั้งสติ สังเกตอาการให้ชัด ๆ อย่างน้อยก็ต้องรู้ว่าปวด และหรือชาตรงตำแหน่งไหน เพราะจะช่วยให้วินิจฉัยและรักษาได้ถูกต้อง อย่าอธิบายแบบมั่ว ๆ เพราะถ้าแพทย์ไม่ละเอียดเกิดผ่าตัดไปแบบมั่ว ๆ บ้าง ถือว่าแพทย์และผู้ป่วยเองก็มีส่วนเหมือนกัน

 

บทความ : นพ. พินิจ ลิ้มสุคนธ์. นิตยสารหมอชาวบ้าน  เล่มที่ 372. เมษายน 2553. “เรียนรู้ เรื่องเหน็บชา”
แหล่งที่มา : www.doctor.or.th
ภาพประกอบจาก : www.freepik.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก