Health4senior

กระดูกพรุน (osteoporosis)

โรคกระดูกพรุนหรือกระดูกโปร่งบางคือ ภาวะที่ปริมาณเนื้อกระดูกลดลง และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของกระดูก ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง เกิดกระดูกหักได้ง่ายขึ้น

โรคกระดูกพรุนพบบ่อยรองจากโรคข้อเสื่อม โดยที่ไม่แสดงอาการผิดปกติ การสูญเสียเนื้อกระดูกไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาเหมือนเดิมได้ ดังนั้นจึงควรป้องกันและให้การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก่อนที่จะเกิดกระดูกหัก

ในวัยเด็กปริมาณเนื้อกระดูกจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนสูงสุดเมื่ออายุ 30 – 35 ปี หลังจากนั้นเนื้อกระดูกจะลดลงอย่างช้า ๆ แต่ในผู้หญิงเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน ปริมาณเนื้อกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้หญิงสูญเสียปริมาณเนื้อกระดูกมากกว่าผู้ชาย 2 – 3 เท่า ผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคนี้ถึงร้อยละ 30 – 40 แต่ผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคนี้เพียงร้อยละ 10

พบว่าในผู้หญิงอายุ 60 – 70 ปีเป็นโรคนี้ ร้อยละ 40 และในผู้หญิงอายุมากว่า 80 ปี จะเป็นโรคนี้ถึงร้อยละ 60 จะเห็นว่าทุกคนมีโอกาสที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน แต่ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงจะมีโอกาสเป็นโรคมากกว่าผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง

ภาพจาก www.beyondthedish.files.wordpress.com

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทาให้เกิดโรคกระดูกพรุน

  1. ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือผู้หญิงที่ผ่าตัดรังไข่ออกทั้งสองข้าง ทำให้ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
  2. รับประทานอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วน เช่น ทานอาหารโปรตีนสูง (เนื้อสัตว์) โซเดียมสูง (รสเค็ม) แต่มีแคลเซียมต่ำ.
    แนะนำอ่าน  6 ข้อควรรู้ สำหรับการกินเพื่อสุขภาพ
  3. กรรมพันธุ์ โดยเฉพาะผู้ที่มีคนในครอบครัว เป็นโรคกระดูกพรุน หรือ มีกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
  4. สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้วต่อวัน ดื่มน้าอัดลมมากกว่า 1 ลิตรต่อวัน
  5. ขาดการออกกาลังกาย ที่มีการแบกรับน้ำหนัก.
    แนะนำอ่าน  ใครยังไม่ได้ออกกำลังกาย อ่านเรื่องนี้เลย
  6. น้ำหนักตัว โดยเฉพาะในผู้หญิง จะพบว่าคนรูปร่างผอมมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่มีรูปร่างอ้วน
  7. เป็นโรคบางอย่าง เช่น ไตวาย เบาหวาน รูมาตอยด์ ไทรอยด์ พิษสุราเรื้อรัง ธาลัสซีเมีย โรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น
  8. ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาลดกรดในกระเพาะ (ยาธาตุน้าขาว) ยากันชัก ยาขับปัสสาวะ
  9. ผู้สูงอายุ เชื่อว่าสาเหตุเกิดจากการขาดแคลเซียมต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ หรือลำไส้ดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง และอาจร่วมกับการขาดวิตามินดี เพราะผู้สูงอายุมักไม่ได้ออกไปสัมผัสกับแสงแดด.
    แนะนำอ่าน  วิตามินดี เพื่อนแสนดีสำหรับผู้สูงอายุ

 

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกระดูกพรุน

  • โดยทั่วไป ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการผิดปกติ จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง แต่ทำให้มีกระดูกหักเกิดขึ้น เช่น ลื่นล้มหรือตกจากเก้าอี้ เป็นต้น ตำแหน่งที่พบกระดูกหักได้บ่อยคือ ข้อมือ หัวไหล่ หลัง สะโพกและส้นเท้า
  • ผู้สูงอายุที่มีหลังโก่งหรือความสูงลดลง เกิดจากกระดูกสันหลังค่อย ๆ ยุบลง โดยความสูงลดลงมากกว่า 1.5 นิ้ว เมื่อเทียบกับความสูงที่สุดช่วงอายุ 25 – 30 ปี (ความสูงที่สุด มีค่าเทียบเท่ากับความยาวจากปลายนิ้วทั้งสองข้าง)
  • เอกซเรย์กระดูก ในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น กระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก กระดูกสันหลัง เป็นต้น
  • วัดความหนาแน่นเนื้อกระดูก เช่น วัดด้วยคลื่นเสียงอัลตร้า รังสีเอกซ์ หรือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น การตรวจปัสสาวะ การตรวจสารเคมีในเลือด เป็นต้น
  • การตัดชิ้นเนื้อกระดูกเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งจะทำในรายที่จำเป็นเท่านั้น

ปัจจุบันมีการคัดกรองโรคกระดูกพรุนที่หลากหลาย เช่น การคำนวณดัชนีคัดกรองความเสี่ยง Osteoporosis Self-Assessment Tool for Asian (OSTA) หรือ Khon Kaen Osteoporosis Study Score (KKOS) การวัดกระดูกส้นเท้า (Quantitative ultrasound calcaneus measurement หรือ QUS) องค์การอนามัยโลกแนะนำการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักเรียกว่า FRAX® ซึ่งประชาชนหรือบุคลากรทางการแพทย์สามารถประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักภายใน 10 ปีข้างหน้าได้จากเว็บไซต์ http://www.shef.ac.uk/FRAX/tool.aspx?lang=th

สำหรับการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนที่เป็นมาตรฐาน (Gold standard) ในปัจจุบันยังต้องอาศัยเครื่องวัดมวลกระดูก Dual energy X-ray absorptiometry (DXA) ซึ่งเป็นวิธีการวัดความหนาแน่นของกระดูกที่แม่นยำที่สุด อย่างไรก็ตาม เครื่องมือนี้ไม่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกโรงพยาบาล จะมีตามโรงพยาบาลขนาดใหญ่เท่านั้น เกณฑ์การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนด้วย DXA ซึ่งกำหนดโดยองค์การอนามัยโลกแสดงเป็นค่า T-score

  • 0 ถึง -1 (ศูนย์ ถึง ลบ หนึ่ง) แปลว่า อยู่ในเกณฑ์ ปกติ
  • -1 ถึง -2.5 (ลบหนึ่ง ถึง ลบสองจุดห้า) แปลว่า กระดูกบาง
  • ค่าน้อยกว่า -2.5 (น้อยกว่า ลบสองจุดห้า) แปลว่า กระดูกพรุน
  • ค่าน้อยกว่า -2.5 และมีกระดูกหัก แปลว่า กระดูกพรุน ขั้นรุนแรง

หมายเหตุ การแปลผลจะเทียบค่าที่วัดได้กับค่ามาตรฐานที่มี เพศ อายุ เชื้อชาติ ใกล้เคียงกัน

การวัดกระดูกส้นเท้า (Quantitative ultrasound calcaneus measurement หรือ QUS) เป็นวิธีตรวจคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น ว่ามีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่ มีข้อดีคือ สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเสี่ยงกับการได้รับรังสีและราคาถูก แต่มีความคลาดเคลื่อนพอสมควร ถ้าวัดแล้วมีค่าผิดจากปกติมากเกินไป เช่น อายุน้อยแต่กระดูกบางมาก เป็นต้น ก็ควรตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่น ๆ ก่อนให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกบาง กระดูกพรุน

 

ข้อบ่งชี้ในการตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก

  1. เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการเปรียบเทียบครั้งต่อไป
  2. ผู้ที่มีปัจจัยความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนสูง
  3. เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคหรือประเมินการสูญเสียเนื้อกระดูก ว่าอยู่ในกลุ่มที่มีการสูญเสียกระดูกอย่างรวดเร็วหรือไม่ เพื่อที่จะได้หาวิธีป้องกันและให้การรักษาตั้งแต่แรก ๆ
  4. ใช้ในการติดตามผลการรักษา ซึ่งอาจตรวจซ้ำทุก 1 – 2 ปี

ภาพจาก www.back.vsebolezni.com

 

ผู้ที่ควรตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก

  • ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน (โดยเฉพาะผู้ที่อายุน้อยกว่า 40 ปี) หรือผู้ที่ได้รับการผ่าตัดรังไข่ออกทั้งสองข้าง
  • ถ่ายภาพเอกซเรย์ของกระดูก แล้วพบว่ากระดูกบางผิดปกติ
  • มีกระดูกหักเกิดขึ้นทั้งที่เป็นอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น ข้อเท้าพลิก ยกของหนัก ลื่นล้มหรือตกจากเก้าอี้.
    โดยเฉพาะกระดูกหักในบริเวณ ข้อมือ ข้อไหล่ กระดูกสันหลัง ข้อสะโพกและกระดูกส้นเท้า
  • ผู้สูงอายุ ที่รู้สึกว่ากระดูกสันหลังผิดปกติ เช่น หลังโก่ง หลังคด หรือ ความสูงลดลงมากกว่า 1.5 นิ้ว เมื่อเทียบกับความสูงที่สุดช่วงอายุ 25 – 30 ปี (ความสูงที่สุดสามารถวัดได้เทียบเท่ากับ ความยาวจากปลายนิ้วทั้งสองข้าง)
  • เป็นโรคบางอย่าง เช่น ไตวาย เบาหวาน รูมาตอยด์ ไทรอยด์ พิษสุราเรื้อรัง ธาลัสซีเมีย โรคมะเร็ง เป็นต้น
  • รับประทานยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาลดกรดในกระเพาะ (ยาธาตุน้าขาว) ยาขับปัสสาวะ
  • รูปร่างผอมหรือไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือมีกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
  • สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้วต่อวัน ดื่มน้าอัดลมมากกว่า 1 ลิตรต่อวัน

 

แนวทางการรักษา

ปัจจุบันรักษาโดยใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกัน ได้แก่

  1. การออกกำลังกาย ต้องเป็นการออกกำลังกายที่มีการแบกรับน้ำหนัก เช่น เดิน วิ่งเหยาะ ๆ เต้นแอโรบิก แบบแรงกระแทกต่ำ (สเต็ปแอโรบิก) ลีลาศ ยกน้าหนัก เป็นต้น จะช่วยเพิ่มเนื้อกระดูกในบริเวณที่รับน้ำหนักได้ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 30 นาที โดยให้ชีพจรเต้นเร็วขึ้นประมาณร้อยละ 60 – 70 ของชีพจรสูงสุด (ชีพจรสูงสุด = 220 ลบด้วยอายุของผู้ที่ออกกำลังกาย) ออกไปสัมผัสกับแสงแดดในช่วงเช้าและเย็นอย่างสม่ำเสมอและนานเพียงพอ (ประมาณ 15 – 20 นาที ต่อวัน).
    แนะนำอ่าน  ออกกำลังกายให้ดี ไม่รู้เรื่องนี้ไม่ได้เลย
  2. ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สูญเสียเนื้อกระดูก เช่น รับประทานอาหารให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปรตีนสูงและโซเดียมสูง แต่เพิ่มอาหารที่มีแคลเซียมสูง หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้วต่อวัน หรือดื่มน้ำอัดลมมากกว่า 1 ลิตรต่อวัน หลีกเลี่ยงยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาลดกรดในกระเพาะ (ยาธาตุน้ำขาว) ยากันชัก ยาขับปัสสาวะ
  3. การรักษาด้วยยา จะมียาอยู่หลายกลุ่มซึ่งมักจะต้องใช้ร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น
    • ฮอร์โมนเอสโตรเจน ราลอกซีฟีน
      ต้องได้รับฮอร์โมนภายใน 3 – 5 ปีหลังเริ่มหมดประจำเดือน และใช้ติดต่อกัน 5 – 6 ปี จึงจะได้ผลดีที่สุด ก่อนใช้ควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากมีผลข้างเคียงสูง และ ห้ามใช้ในผู้ที่เป็น มะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม โรคตับ หลอดเลือดดำอุดตัน
    • แคลเซียม
      อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น น้ำนม กุ้งแห้ง กะปิ ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อยที่กินได้ทั้งตัว เต้าหู้เหลือง น้ำเต้าหู้ ข้าวขาหมู ข้าวหมูแดง ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ้วใส่ไข่ ข้าวราดไก่ผัดกระเพรา ขนมจีนน้ำยา เป็นต้น
      ถ้าได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอนานประมาณ 18 เดือน จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักได้.ในผู้สูงอายุ ควรได้รับแคลเซียมร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจน แคลซิโทนินหรือวิตามินดี จึงจะได้ผลดียิ่งขึ้น.
      แคลเซียมชนิดเม็ดฟู (ละลายในน้ำ) ก็จะถูกดูดซึมได้ดีกว่าแคลเซียมชนิดอื่น ๆ แต่ก็จะมีราคาสูงกว่า
    • ฮอร์โมนแคลซิโตนิน.
      ฮอร์โมนแคลซิโตนินมีทั้งชนิดฉีดและชนิดสเปรย์พ่นจมูก สามารถเพิ่มเนื้อกระดูกได้ร้อยละ 5 – 10 ใน 2 ปีแรกของการใช้ยา และลดโอกาสเกิดกระดูกหักได้ร้อยละ 30 – 40 ช่วยลดอาการปวดกระดูกได้ แต่มีข้อเสียคือต้องใช้ติดต่อกัน 2 – 3 เดือน มีค่าใช้จ่ายประมาณ 8,000 – 17,000 บาท
    • ยาบิสฟอสโฟเนต
      บิสฟอสโฟเนต เช่น เอเลนโดรเนตริสซิโดรเนต ไอแบนโดรเนต โซลิโดรเนต เป็นต้น ช่วยเพิ่มเนื้อกระดูกได้ร้อยละ 5 – 8 ลดโอกาสเกิดกระดูกหักได้ร้อยละ 50 ต้องใช้ยาติดต่อกันอย่างน้อย 3 – 6 เดือน มีค่าใช้จ่ายประมาณ 9,600 – 16,000 บาท ต่อปี ซึ่งอาจต้องใช้ติดต่อกัน 2 – 3 ปีจึงจะเห็นผลชัดเจน
    • ยากลุ่มอื่น เช่น ฟลูออไรด์ เทสโตสเทอโรน (ฮอร์โมนเพศชาย) พาราไทรอยด์ฮอร์โมน สตรอนเตียม เป็นต้น

การเลือกวิธีการรักษาต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ความเสี่ยงที่จะเกิดโรค ความรุนแรงของโรค ผลดีผลเสียของวิธีรักษาแต่ละวิธี และค่าใช้จ่าย เพราะต้องรักษาต่อเนื่องหลายปี หรืออาจจะต้องรักษากันตลอดชีวิต

 

แนะนำอ่านเพิ่มเติม

  • แนวทางเวชปฏิบัติสาหรับโรคกระดูกพรุน พ.ศ.2553 โดย มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย
  • แนวทางเวชปฏิบัติโรคกระดูกพรุน พ.ศ.2548 โดย สานักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ภาพประกอบ : www.freepik.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก