การพกยาไปต่างประเทศนั้น ควรศึกษาข้อมูลกันล่วงหน้า เนื่องจากประเทศต่าง ๆ อาจมีกฎระเบียบที่แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลตามแผนการเดินทางที่วางไว้ เพื่อให้การพกยาเพื่อดูแลตนเอง เป็นไปอย่างราบรื่น
ขั้นตอนในการจัดเตรียมยาสำหรับเดินทาง เบื้องต้นมีดังนี้
- ตรวจสอบประเทศที่จะเดินทางไปว่า ห้ามนำเข้ายาตัวใดบ้าง
- กรณียาที่จะพกติดตัวไป อยู่ในรายชื่อของยาห้ามนำเข้า โดยอาจเป็นยาที่รักษาโรคประจำตัวอยู่ ให้ปรึกษาแพทย์หายาที่สามารถทดแทน และไม่อยู่ในรายชื่อของยาห้ามนำเข้า หากไม่มียาตัวไหนทดแทนได้ให้กรอกแบบฟอร์มขออนุญาตการนำยาเข้าประเทศนั้น พร้อมกับการขอใบรับรองแพทย์ ระบุโรคประจำตัวและชื่อยาที่ต้องรับประทาน โดยต้องนำใบรับรองแพทย์ดังกล่าวติดตัวไปในระหว่างเดินทางด้วย สำหรับยาบางกลุ่ม เช่น ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทหรือยาแก้ปวดชนิดรุนแรงบางชนิด อาจต้องขออนุญาตนำออกจากประเทศไทยและมีใบสั่งแพทย์ถูกต้องแนะนำอ่าน หมวดหมู่ สุขภาพหญิง/ชาย
- กรณียาที่จะพกติดตัวไป ไม่อยู่ในรายชื่อของยาห้ามนำเข้า การพกติดตัวโดยเฉพาะช่วงที่มีการผ่านด่านตรวจ ควรเป็นยาที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์หรือแผงยา ผู้ตรวจสามารถเห็นรายละเอียดของยาได้ชัดเจนและครบถ้วน โดยต้องมีปริมาณยาใช้ได้ไม่เกิน 30 วัน
สำหรับยาสามัญประจำบ้านหรือยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ ที่ควรจะพกติดตัวไว้กินในยามฉุกเฉิน มีดังนี้
- ยาแก้ไข้หวัด น้ำมูกไหล ไอ จาม เจ็บคอ ได้แก่ Paracetamol ใช้ลดไข้ บรรเทาปวด, Bisolvon Flemex ยาแก้ไอน้ำดำต่าง ๆ ใช้แก้ไอ, ยาอมหรือยาพ่นทั้งที่เป็นยาแผนปัจจุบันหรือสมุนไพร สำหรับแก้เจ็บคอ, Zyrtec Loratadine ใช้ลดน้ำมูก ลดการคัดจมูก เป็นต้น
- ยาแก้เมายานพาหนะ ควรมีถุงสำหรับอาเจียน, ยาดม, ยาแก้เมา เช่น Funarizine/Dimenhydrinate
- ยาแก้ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง เช่น motilium แก้คลื่นไส้อาเจียน, Buscopan แก้ปวดบิดท้อง, ผงเกลือแร่ผสมน้ำ ทดแทนการเสียน้ำจากการอ้วกและถ่าย
- ยาแก้อาการปวดท้อง โรคกระเพาะ อาหารไม่ย่อย เช่น omeprazole, gaviscon, air-x ใช้แก้โรคกระเพาะ/กรดไหลย้อน, ENO ลกกรด ลดแน่นเฟ้อ
- ยาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการเดิน หรือแบกของหนัก เช่น Perskindol, Counter pain, Votalen gel ใช้ทาบรรเทาปวด, Biocalm ใช้คลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
- ยาแก้แมลงสัตว์กัดต่อย ฟกช้ำ ผื่นแพ้ แผลต่างๆ ควรมีอุปกรณ์ทำแผลเบื้องต้นชิ้นเล็กๆ ได้แก่ แอลกอฮอล์ ผ้าก๊อซ พลาสเตอร์ ทรานสปอร์ เบตาดีน ยาทาแผลร้อนใน สเตียรอยด์ครีม ไว้ทาเวลาคันหรืออักเสบ (โปรดระมัดระวังการใช้ยาสเตียรอยด์)
แนะนำอ่าน หมวดหมู่ อาการและโรควัยซีเนียร์ถึงจุดนี้ ไม่ว่าจะมีการทำประกันล่วงหน้า ซื้อยาเตรียมพกติดตัวไปขนาดไหน การเจ็บป่วยในระหว่างการเดินทางยังเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น การหลีกเลี่ยงโดยการดูแลสุขภาพ เลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้เหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่ดี
เรียบเรียงข้อมูลโดย : กองบรรณาธิการ
ภาพประกอบจาก : www.freepik.com
แหล่งข้อมูล
- ภญ.ปานฝัน เลาะวิธี งานเภสัชกรรม ฝ่ายสนับสนุนทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- อุ่นใจไปต่างแดน เคล็ดลับเตรียมยา ฉบับคุณหมอ, MGR Online