Health4senior

ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ

โรคโควิด 19 : แนวทางจัดการ

โรคโควิด 19 (COVID-19) เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง แนวทางการจัดการเน้น ที่ 1) การป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อเพิ่ม โดยลดการสัมผัสเชื้อ หรือหากสัมผัสแล้วมีภูมิต้านทานที่จะลดการเจ็บป่วย และ 2) การควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัด

การป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 เพิ่ม มี 2 ข้อหลัก คือ

  • การลดการสัมผัสเชื้อ โดยสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับบุคคลอื่น การล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ การเว้นระยะห่างกับผู้อื่น และมีมาตรการทางสังคมเพิ่มเติมตามสถานการณ์ เช่น ห้ามรวมกลุ่ม ห้ามเดินทางข้ามเขตพื้นที่ ทำงานจากที่บ้าน เป็นต้น
    .
    .
  • การฉีดวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 โดยฉีดวัคซีน เรียงลำดับตามความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากมีการติดเชื้อ การฉีดตั้งแต่ 70% ขึ้นไป ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd immunity) เป็นประโยชน์กับผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดอีกด้วย
    .

การควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 โดยตรวจคัดกรองแยก ผู้ติดเชื้อ ผู้เสี่ยงติดเชื้อสูง ผู้เสี่ยงติดเชื้อต่ำ แล้วมีมาตรการรองรับแต่ละกลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อโควิดสูง ต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด ถ้าพบว่าติดเชื้อต้องแยกตัว (Isolation) และรับการรักษาที่เหมาะสม โดยผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนักต้อง ไปยังโรงพยาบาล ในห้องที่มีการควบคุมการระบาด ส่วนผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง จะถูกส่งไปโรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel ซึ่งมีระบบดูแลป้องกันการแพร่ของเชื้อ
    .
    สำหรับผู้ที่ต้องเข้ารับการตรวจเชื้อโควิด ได้แก่ 1) ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และมีปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย เดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาด 2) ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และอาการหนักขึ้น เช่น เหนื่อยหอบ หายใจไม่เต็มอิ่ม โดยไม่จำเป็นต้องมีปัจจัยเสี่ยง 3) ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และมีอายุมากกว่า 60 ปี หรือมีโรคประจำตัว
    .
    .
    ทั้งนี้ผู้ที่เข้ารับการตรวจ ก่อน/ระหว่างรอผล/หลังทราบผลเป็นลบ ต้องใช้มาตรการกักตัวเช่นเดียวกับกลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อ โดยผลการตรวจเป็นลบหมายถึง ตรวจไม่พบเชื้อยังคงต้องกักตัวให้ครบ 14 วัน และอาจต้องมีการตรวจซ้ำ
    .
    ปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยที่ควรพิจารณารับการตรวจ เมื่อ
    .การสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย จนถึงขั้นเสี่ยงสูง ต้องไปตรวจโควิดทันที มีเกณฑ์ดังนี้

      • เจอกับผู้ติดเชื้อโดยตรง ในพื้นที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท เกิน 15 นาที
      • เจอและพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ ในระยะไม่เกิน 1 เมตร นานมากกว่า 5 นาที
      • อยู่ใกล้กับผู้ติดเชื้อในระยะไม่เกิน 1 เมตร โดยต่างคนต่างไม่ใส่หน้ากากอนามัย หรือเครื่องป้องกันอื่น ๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที
      • ไอ หรือจามใส่กัน โดยไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย หรือเครื่องป้องกันอื่น ๆ
      • รับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มจากภาชนะเดียวกัน อุปกรณ์รับประทานอาหารชิ้นเดียวกัน
      • อยู่บ้านเดียวกันกับผู้ติดเชื้อ หรืออยู่ในสถานที่เดียวกันกับที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก

การเดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาดพื้นที่ใดเป็นพื้นที่ระบาด การเคลื่อนย้ายต้องมีการกักตัวสามารถติดตามได้จาก คลิก www.moicovid.com.

  • กลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อโควิด ต้องเฝ้าระวังโดยวิธีการกักตัว (Quarantine) เพื่อสังเกตอาการเป็นระยะเวลา 14 วัน ซึ่งสามารถกักตัวได้ที่บ้าน (Home Quarantine) หรือสถานที่กักตัวทางเลือกอื่น หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ต้องพบแพทย์และรับการตรวจเชื้อโควิดทันที.
    สำหรับผู้ที่ต้องกักตัว ได้แก่ ผู้ที่ไม่มีอาการ แต่มีปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย เดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาด
    .
  • กลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อต่ำ ใช้วิธีสังเกตอาการ โดยหากอาการไม่หายภายใน 3 – 4 วัน หรืออาการรุนแรงขึ้นต้องพบแพทย์เพื่อรับการตรวจทันที.
    สำหรับผู้ที่ต้องสังเกตอาการ ได้แก่ ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และไม่มีปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย เดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาด.

หมายเหตุ เป็นแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นเท่านั้น สอบถามเพิ่มเติม เบอร์ 1422 สายด่วนกรมควบคุมโรค 1668 กรมการแพทย์ 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19  |

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : ผศ. (พิเศษ) พญ. จุรีรัตน์ บวรวัฒนุวงศ์
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก